Page 154 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 154

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-94






                      เข้าถึงด้านอาหารทุกครัวเรือนทั้งในเชิงของปริมาณ คุณภาพ โภชนาการ และความปลอดภัย โดยการ
                      ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผ่านเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรที่ประสบความสําเร็จ

                      และแหล่งความรู้ในพื้นที่
                                 - ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้และการพัฒนา

                      ด้านอาหารศึกษาทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม
                      ของบุคคลและชุมชน เพื่อให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่ให้ความสําคัญกับคุณภาพชีวิตและการบริโภค

                      ที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและบูรณาการของ

                      หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการสนับสนุนด้านอาหารศึกษา และเน้นการวิจัยและพัฒนาด้าน
                      อาหารในมิติต่างๆ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัยและมีคุณค่า

                      ต่อการบริโภค
                                 -สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการผลิตและการบริโภคที่เกื้อกูลกันในระดับชุมชนที่

                      อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยมีเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง เช่น ตลาด
                      ท้องถิ่นตลาดเกษตรกร เป็นต้น ซึ่งจะทําให้ปริมาณผลผลิตมีตลาดรองรับมากขึ้นสามารถพัฒนาเป็น

                      วิสาหกิจชุมชนและนําไปสู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งมีศักยภาพในการผลิตและเข้าถึงอาหารและ

                      โภชนาการที่ดี รวมทั้งมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง
                                 -  ส่งเสริมการนําวัตถุดิบทางการเกษตรที่ผลิตได้ในชุมชนและที่เหลือใช้จาก

                      การเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนใช้ในระดับครัวเรือนและชุมชน เช่น ไบโอดีเซล พลังงานความร้อน
                      จากการเผาไม้เศษวัสดุทางการเกษตร ก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักมูลสัตว์และเศษขยะอินทรีย์เป็นต้น

                                 -  สนับสนุนการผลิตพลังงานทดแทนภายในชุมชน โดยการสนับสนุนองค์ความรู้
                      ด้านเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทน ทั้งจากวัตถุดิบเหลือใช้จากครัวเรือนและการเกษตร อาทิมูลสัตว์

                      ขยะ ฟาง แกลบ เศษไม้ตลอดจนถ่ายทอดวิธีการดูแลรักษาและการซ่อมบํารุงให้แก่ชุมชนหรือ

                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการผลิตพลังงานทดแทน เพื่อนําไปสู่การพัฒนาพลังงาน
                      ทดแทนอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระดับชุมชนและท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านพลังงาน

                      รวมถึงลดมลภาวะ แก่ชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการผลิตพืชพลังงานทดแทนที่ไม่ใช่อาหาร
                      และมีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น เช่น สบู่ดํา เป็นต้น

                                 -  ส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ให้เป็นเครื่องมือในการสร้าง
                      ความเข้มแข็งด้านอาหารให้กับเกษตรกรและชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยสนับสนุนบทบาทการบริหาร

                      จัดการโครงสร้างพื้นฐานภายในชุมชน เช่น ศูนย์พันธุ์ข้าวชุมชน โรงปุ๋ ยชีวภาพปุ๋ ยอินทรีย์โรงสีและ

                      ลานตาก เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพผลิตผลการเกษตรในชุมชน
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159