Page 151 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 151

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-91






                                (3)การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต ดําเนินงานโดย
                                 -  สนับสนุนการผลิตและบริการของชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

                      อาหารและพลังงานโดยพัฒนาศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทาง

                      ชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนบนฐานความรู้ที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า เช่น
                      สมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหารและบริการเพื่อสุขภาพ สินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ฮาลาล เป็นต้น รวมถึง

                      สินค้าเกษตร ที่มิใช่อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยาง สินค้าจําพวกวัสดุชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ยาและ
                      อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เป็นต้น ตลอดจนการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาต่อยอดให้มีโอกาสทาง

                      การตลาดและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสนับสนุนการผลิตและการตลาดสินค้า
                      เกษตรชนิดใหม่ๆ ที่มีมูลค่าสูงเพื่อรองรับความต้องการของตลาดเฉพาะกลุ่มและตลาดโลก

                                 -ส่งเสริมสถาบันการศึกษาในพื้นที่เข้ามาร่วมทําการศึกษาวิจัยกับภาคเอกชน
                      ควบคู่กับการใช้มาตรการด้านสินเชื่อผ่อนปรนและมาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร และ

                      ผู้ประกอบการนําองค์ความรู้นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บนฐาน
                      ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร

                                 -  สนับสนุนการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐาน

                      ระบบการผลิตสินค้าเกษตรให้เทียบเท่าระดับสากล ควบคุมและดูแลกระบวนการตรวจรับรองคุณภาพ
                      อย่างเข้มงวด พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับและความสามารถในการติดตามการขนส่งหรือเคลื่อนย้าย

                      สินค้า รวมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
                      รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสและการใช้ประโยชน์จากการเปิดการค้าเสรีตลอดจนมีความรวดเร็ว ทั่วถึง

                      และประหยัดสําหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการ
                                 -สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรและผู้ประกอบการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร

                      ตามมาตรฐานที่กําหนดเช่น มาตรฐานอาหารปลอดภัย มาตรฐานฮาลาล เป็นต้น รวมทั้งการผลิตสินค้า

                      เกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานลดภาระ
                      ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบรับรอง เพื่อขยายการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพ มาตรฐานและ

                      ความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                                 -  ส่งเสริมระบบตลาดกลางสินค้าเกษตรและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้

                      เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพโดยการสนับสนุนสิ่งจูงใจ เช่น สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้กับ
                      ผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการตลาดกลางสินค้าเกษตร เพื่อให้เกิดกลไกตลาดที่มี

                      ความเป็นธรรม และสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรสามารถเข้ามาทําธุรกรรมในตลาดสินค้าเกษตร

                      ล่วงหน้า เป็นต้น
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156