Page 150 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 150

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-90






                      เป็นต้น เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรและการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของ
                      ความสมัครใจ และการมีส่วนร่วมของเกษตรกร โดยกําหนดเขตการใช้ที่ดินและมาตรการจูงใจให้

                      เกษตรกรทําการผลิตตามศักยภาพของพื้นที่และสนับสนุนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เช่น สินเชื่อ
                      เงื่อนไขผ่อนปรน เป็นต้น และส่งเสริมให้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชแต่ละชนิด เพื่อใช้

                      สําหรับวางแผนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับภาวะตลาด
                                 -  ควบคุมและกํากับดูแลให้มีการนําเข้าและใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ได้มาตรฐาน

                      โดยการปรับปรุงระบบการขึ้นทะเบียนสารเคมีกําจัดศัตรูพืชเพื่อให้ได้มาตรฐานและไม่อนุญาตให้มี

                      การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่หลายประเทศห้ามใช้แล้วควบคุมการโฆษณาและการส่งเสริมการขายที่
                      ขัดต่อเกณฑ์ทางจริยธรรมขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติรวมทั้งสนับสนุนการใช้

                      สารชีวภาพให้มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างความปลอดภัยในสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและ
                      ผู้บริโภค รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรณรงค์สร้างความเข้าใจให้เกษตรกรใช้

                      สารเคมีทางการเกษตร อย่างถูกวิธีตามหลักวิชาการ
                                 - ปรับปรุงบริการขั้นพื้นฐานเพื่อการผลิตให้ทั่วถึงเช่นศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตร

                      หรือศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับชุมชน เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการผลิต
                      ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                                 -  ส่งเสริมการผลิตที่คงไว้ซึ่งความหลากหลายของพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพ

                      ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศ และสนับสนุนการทดลองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ
                      อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม เป็นต้น เพื่อให้มี

                      องค์ความรู้ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของโลกในระยะต่อไป
                                 -พัฒนาและเสริมสร้างองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆที่เหมาะสม

                      ทางการเกษตรรวมทั้งสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่เกษตรกร

                      อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง โดยผ่านศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเครือข่ายเกษตรกรที่มี
                      ความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละพื้นที่และจากเกษตรกรที่ประสบความสําเร็จหรือปราชญ์ชาวบ้าน
                      ตลอดจนเพิ่มความสามารถและช่องทางในการรับรู้ข่าวสารให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง รวมถึงพัฒนา

                      สื่อทางการเกษตรในวงกว้าง เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรสู่เกษตรกรและ

                      ประชาชนที่มีความสนใจให้ทั่วถึงมากขึ้น
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155