Page 14 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             2-2





                      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีความสูงเฉลี่ย 500-1,000 เมตร
                      จากระดับทะเลปานกลาง ทางทิศใต้ของภาคมีเทือกเขาใหญ่อีก 2 เทือก ทอดยาวจากทางทิศตะวันตก

                      ตลอดเขตแดนประเทศกัมพูชาและลาวคือ เทือกเขาสันกําแพงและเทือกเขาพนมดงรัก พื้นที่โดยทั่วไปมี
                      ลักษณะเป็นที่ราบมีชื่อเรียกว่า ที่ราบสูงโคราช โดยมีขอบสูงในบริเวณเทือกเขาทาง ทิศตะวันตกและทิศ

                      ใต้และค่อยลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่นํ้าโขง บริเวณตอนในค่อนไปทาง ตะวันออกเฉียงเหนือยังมี
                      เทือกเขาเตี้ยๆ เรียกว่า เทือกเขาภูพาน และมีภูเขากระจัดกระจายไม่เป็นเทือกเขา ทําให้ลักษณะพื้นที่ใน

                      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบใหญ่ 2 ตอน คือ แอ่งสกลนครและแอ่งโคราช

                            2.1.3 ภาคกลาง
                                 ประกอบด้วย 18 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ กรุงเทพมหานครไม่นับว่าเป็น

                      จังหวัด เนื่องจากเป็นเขตการปกครองพิเศษมีเนื้อที่ 43,450,440 ไร่หรือร้อยละ 13.55 ของเนื้อที่ประเทศ
                                 ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการที่แม่นํ้าพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวด

                      ทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมาเป็นเวลานาน ระดับพื้นที่มีลักษณะลาดลงมาทางใต้พื้นที่ราบ
                      ส่วนใหญ่มีความสูงโดยประมาณน้อยกว่า 80 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง มีภูเขาเตี้ยๆ เกิดขึ้นแต่ไม่

                      มากนัก โดยทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาตะนาวศรีทอดเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับ
                      เมียนมาร์ มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางเกินกว่า 1,650 เมตร ทางด้านตะวันออกมีเทือกเขาดงพญาเย็น

                      และเทือกเขาสันกําแพงเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                            2.1.4 ภาคตะวันออก

                                 ประกอบด้วย 7 จังหวัด มีเนื้อที่ 21,487,812 ไร่คิดเป็นร้อยละ 6.70 ของเนื้อที่ประเทศ

                                 ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นภูเขา แนวเทือกเขา ที่ราบแคบๆ และชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือ
                      ของภาคมีเทือกเขาสันกําแพงและเทือกเขาพนมดงรัก ทอดในแนวตะวันตก-ตะวันออก เป็นเส้นกั้นเขต

                      ระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางด้านตะวันออกของภาคมีเทือกเขาบรรทัดเป็นเส้น
                      กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาที่จังหวัดตราด ถัดมามีเทือกเขาจันทบุรีอยู่ในแนวจังหวัด

                      ชลบุรีและจันทบุรี ทะเลภาคตะวันออกประกอบไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่ง เกาะที่สําคัญ ได้แก่
                      เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ในจังหวัดตราด เกาะเสม็ด เกาะมันใน ในจังหวัดระยอง เกาะล้าน เกาะสีชัง

                      ในจังหวัดชลบุรี

                            2.1.5 ภาคใต้
                                 ประกอบด้วย 14 จังหวัด มีเนื้อที่ 44,196,992 ไร่หรือร้อยละ 13.78 ของเนื้อที่ประเทศ
                                 ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบระหว่างเขาหรือที่ราบชายฝั่งทะเล มีทะเลขนาบ

                      ทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านฝั่งทะเลตะวันออกติดอ่าวไทยและฝั่งทะเลตะวันตกติดทะเลอันดามัน สภาพพื้นที่

                      เป็นที่ราบ มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางน้อยกว่า13 เมตร พื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของภาค สูงกว่าทาง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19