Page 10 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             1-2





                      1.2  วัตถุประสงค์
                            เพื่อกําหนดบริเวณการใช้ที่ดินที่เหมาะสมในการปลูกข้าวในภาพรวม และมีศักยภาพสําหรับ

                      การปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศ


                      1.3  ขอบเขตการดําเนินงาน
                            1.3.1 ระยะเวลาดําเนินงาน เดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนกันยายน 2557

                            1.3.2 ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่สําหรับการปลูกข้าวในภาพรวม และการปลูกข้าวหอมมะลิ
                      ของประเทศ

                            1.3.3 พื้นที่เหมาะสมสําหรับข้าวหอมมะลิ เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก


                      1.4  ขั้นตอนและวิธีดําเนินงาน
                            1.4.1  การรวบรวมข้อมูลทั่วไป

                                 ข้อมูลทุติยภูมิที่นํามาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาและวิเคราะห์กําหนดเขตศักยภาพ
                      การใช้ประโยชน์ที่ดินสําหรับปลูกข้าวนาปี และข้าวหอมมะลิ ประกอบด้วยข้อมูลเชิงอรรถาธิบาย

                      และข้อมูลเชิงพื้นที่ ดังนี้
                              1)  ข้อมูลเชิงอรรถาธิบายได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพภูมิประเทศ
                      สภาพภูมิอากาศทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรนํ้า ทรัพยากรป่าไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดินสภาพแวดล้อม

                      ที่เหมาะสม วิธีการปลูกและดูแลรักษา สถิติพื้นที่เพาะปลูก สถิติผลผลิตและการค้า ต้นทุนการเพาะปลูก
                      ข้อมูลด้านการตลาดและการส่งออก การแปรรูปและการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ รวมถึงนโยบายรัฐบาล

                      และแผนพัฒนาต่างๆ จากหน่วยงานราชการทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึง
                      องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                              2)  ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงในรูปแผนที่ต่างๆ เช่น แผนที่สภาพภูมิประเทศ
                      และขอบเขตการปกครอง แผนที่หน่วยที่ดิน แผนที่สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่เขตชลประทาน
                      แผนที่ป่าสงวนแห่งชาติ แผนที่อุทยานแห่งชาติ แผนที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แผนที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า

                      แผนที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร และแผนที่เขตนิคมสหกรณ์ เป็นต้น
                            1.4.2  การรวบรวมข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

                              1)  ข้อมูลปฐมภูมิ รวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี โดยเฉพาะ
                      การปลูกข้าวหอมมะลิตามจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิสําคัญในภาคต่างๆ ตามระดับความเหมาะสม
                      ทางกายภาพ 3 ระดับ คือ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และ

                      พื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)
                              2) ข้อมูลทุติยภูมิ รวบรวมข้อมูลจากบันทึก เอกสาร รายงาน และผลการศึกษา จากหน่วยงาน

                      ที่เกี่ยวข้อง
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15