Page 17 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             2-5





                      พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศบริเวณอําเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรีและภาคตะวันออกบริเวณ
                      จังหวัดจันทบุรีและตราด โดยเฉพาะที่อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีปริมาณฝนรวมเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า

                      4,700 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีปริมาณฝนน้อยส่วนใหญ่ อยู่ด้านหลังเขา ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางของภาคเหนือ
                      บริเวณจังหวัดลําพูน ลําปาง และแพร่ พื้นที่ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัด

                      ชัยภูมิและนครราชสีมา และภาคกลาง สําหรับภาคใต้มีฝนตกชุก เกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงฤดูร้อน
                      บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้

                      ฝั่งตะวันออกในช่วงฤดูฝน โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน ส่วนช่วงฤดูหนาวบริเวณภาคใต้

                      ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝน มากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก
                      โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากที่สุดของภาคใต้อยู่บริเวณ

                      จังหวัดระนองซึ่งมีปริมาณฝนรวมเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีปริมาณฝนน้อย ได้แก่
                      ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบนด้านหลังทิวเขาตะนาวศรีบริเวณจังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานี

                            2.2.4 ความชื้นสัมพัทธ์
                                 ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็นอัตราส่วนของจํานวนไอนํ้าที่มีอยู่ในอากาศต่อจํานวน

                      ไอนํ้าที่อาจมีได้จนอิ่มตัวเต็มที่ในอากาศเดียวกันนั้น ความชื้นสัมพัทธ์จึงกําหนดเป็นเรือนร้อย โดยให้
                      จํานวนความชื้นที่อิ่มตัวเต็มที่เป็น 100 ส่วน โดยประเทศไทยตั้งอยู่ ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมี

                      อากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี เว้นแต่บริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไป
                      ความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงชัดเจน ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่า ดังนี้ ภาคเหนือ

                      มีค่า 74.7 เปอร์เซ็นต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่า 71.8 เปอร์เซ็นต์ ภาคกลาง มีค่า 73.6 เปอร์เซ็นต์

                      ภาคตะวันออก มีค่า 76.0 เปอร์เซ็นต์ และภาคใต้มีค่า 80.2 เปอร์เซ็นต์
                            2.2.5 อุณหภุูมิ

                                 ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนสภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี
                      อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่า ดังนี้ ภาคเหนือ มีค่า 26.3 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                      มีค่า 26.7 องศาเซลเซียส ภาคกลาง มีค่า 27.9 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออก มีค่า 27.5 องศาเซลเซียส
                      และภาคใต้มีค่า 27.2 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

                      และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินตั้งแต่ภาคตะวันออกทางตอนบนและภาคกลางขึ้นไปจนถึง
                      ภาคเหนือ จะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวและระหว่างกลางวันกับกลางคืน

                      สําหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกทางตอนล่างและภาคใต้ความผันแปรของอุณหภูมิ
                      ในช่วงวัน และฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเท่า

                      พื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22