Page 9 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                           บทที่ 1


                                                           บทนํา




                      1.1  หลักการและเหตุผล

                            ข้าวเป็นพืชอาหารและพืชเศรษฐกิจที่สําคัญของโลก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียที่นิยม
                      รับประทานข้าวเป็นอาหารหลักมากกว่าในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ดังนั้น การผลิต การบริโภค และ

                      การค้าข้าวจึงกระจุกตัวอยู่ในทวีปเอเชียเป็นส่วนใหญ่ สําหรับสถานการณ์การผลิตข้าวโลก ในปี 2555/56
                      มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 982.50 ล้านไร่ได้ผลผลิต 468.99 ล้านตันข้าวสาร(699.92 ล้านตันข้าวเปลือก)

                      ผลผลิตต่อไร่ 712 กิโลกรัม เนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลงจากปี 2554/55ร้อยละ 1.27แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่
                      เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68 และ 2.01 ตามลําดับ โดยประเทศที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เช่น บังคลาเทศ บราซิล กัมพูชา

                      จีน เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
                            การผลิตข้าวของประเทศไทย สามารถผลิตได้ปีละ 2 ฤดูได้แก่ ฤดูฝน เรียกว่า “ข้าวนาปี” เป็นข้าวที่

                      เพาะปลูกระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึงวันที่31 ตุลาคม สําหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา

                      ปัตตานี ยะลา นราธิวาส จะเพาะปลูกระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน ถึงวันที่28 กุมภาพันธ์ของปีถัดไป และฤดูแล้ง
                      เรียกว่า “ข้าวนาปรัง”  เป็นข้าวที่เพาะปลูกระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงวันที่30 เมษายน ของปีถัดไป

                      สําหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส จะเพาะปลูกระหว่างวันที่ 1 มีนาคม
                      ถึงวันที่15 มิถุนายน (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร, 2550) การผลิตข้าวนาปีในประเทศไทย ในปี 2555/56

                      มีเนื้อที่เพาะปลูก 64.35 ล้านไร่ผลผลิต 26.60 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 396 กิโลกรัม เนื้อที่
                      เพาะปลูก ลดลงจากปี 2554/55 ร้อยละ 1.45สําหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.29  เนื่องจากเกษตรกร

                      บางส่วนเร่งเพราะปลูกข้าวให้เร็วขึ้น และบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงาน เนื่องจากมีปริมาณ
                      นํ้าฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ประกอบกับโรคและแมลงระบาดเพียงเล็กน้อย

                            จากนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสําคัญกับการจัดทําเขตเกษตรเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความสมดุล
                      ระหว่างอุปทานและอุปสงค์ รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการประมาณการผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่

                      ตลาดตามช่วงฤดูกาลต่างๆและเฝ้าระวังเพื่อหามาตรการรองรับได้ทันท่วงที ตลอดจน เพื่อสนับสนุนการผลิต

                      ทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ จากเหตุผลดังกล่าวจึงได้จัดทําเขตการใช้ที่ดินสําหรับการปลูก
                      ข้าวหอมมะลิโดยเฉพาะศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่เป็นข้าวคุณภาพดีของประเทศ ซึ่งการกําหนด

                      บริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ให้ความสําคัญกับลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร
                      เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14