Page 15 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             2-3





                      ฝั่งตะวันออก มีเทือกเขาที่สําคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรีอยู่ด้านฝั่งทะเลตะวันตกทอดในแนวเหนือ-ใต้
                      ขนานกับฝั่งทะเล กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับเมียนมาร์ เทือกเขาภูเก็ตทอดยาวต่อจากเทือกเขา

                      ตะนาวศรีเรื่อยไปจนถึงเกาะภูเก็ต ทางตอนกลางของภาคมีเทือกเขานครศรีธรรมราชทอดในแนวเหนือ-ใต้
                      ทางด้านใต้ของภาคมีเทือกเขาสันกาลาคีรีเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ฝั่งทะเลทั้ง

                      สองด้านนี้มีเกาะจํานวนมาก


                      2.2  สภาพภูมิอากาศ

                            2.2.1  ลมมรสุม
                                 ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และ

                      ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

                                 1)  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ลมมรสุมนี้พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือน
                      พฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้บริเวณ

                      มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้
                      เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้นํามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทยทําให้มีเมฆมาก

                      และฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนตก

                      มากกว่าบริเวณอื่น
                                 2)  ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากหมดอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว

                      ประมาณกลางเดือนตุลาคมมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

                      ลมมรสุมนี้มีแหล่งกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและ
                      สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งแล้งมาจากแหล่งกําเนิด เข้ามาปกคลุมประเทศไทย

                      ทําให้ฟ้ าโปร่ง อากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                      ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากลมมรสุมนี้ นําเอาความชุ่มชื้นจากอ่าวไทย

                      เข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดของลมมรสุมทั้งสองชนิดดังกล่าว อาจผันแปรไปจากปกติได้ใน
                      แต่ละปี

                            2.2.2  ฤดูกาล

                                 แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้
                                 1)  ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น

                      ช่วงเปลี่ยนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือ
                      หันเข้าหาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะเดือนเมษายนบริเวณประเทศไทยมีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะใน

                      เวลาเที่ยงวัน ทําให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป ในฤดูนี้
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20