Page 90 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 90

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           64







               8.  ปัญหาและข้อเสนอแนะ

                       พื้นที่เพาะปลูกพืชในลุ่มนํ้าทั้งประเทศมักประสบปัญหาทั้งด้านกายภาพ และด้านความอุดม

               สมบูรณ์ของดิน ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสมบัติของดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินรวมทั้งการ

               จัดการของเกษตรกร เพราะข้อจํากัดของดินบางอย่างส่งผลให้ดินนั้นไม่มีความเหมาะสมที่จะนํามาใช้ในทาง
               การเกษตร ดังนั้นการศึกษาถึงสถานภาพของทรัพยากรที่ดินในพื้นที่ลุ่มนํ้า จะช่วยให้เข้าใจถึงสภาพปัญหา

               และนําไปสู่การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งสามารถป้ องกันและแก้ไข

               ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา และตรงกับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มนํ้า
                       สถานภาพของทรัพยากรที่ดินในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104) ที่ได้จากการศึกษา

               ข้อมูลดินในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104) สามารถสรุปปัญหาหรือข้อจํากัดของทรัพยากรที่ดิน

               ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข ดังนี้ (ภาพที่ 10)

                       8.1  ดินค่อนข้างเป็นทรายหรือดินร่วนหยาบ

                           ดินค่อนข้างเป็นทรายหรือดินร่วนหยาบ มีเนื้อที่รวม 83,923 ไร่ หรือร้อยละ 18.10 ของพื้นที่

               ลุ่มนํ้าสาขา โดยแบ่งออกได้ดังนี้

                           8.1.1   ดินค่อนข้างเป็นทรายหรือดินร่วนหยาบที่ลุ่ม พบในกลุ่มชุดดินที่ 22 และกลุ่มชุดดินที่
               59 ประกอบด้วย 8 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 22 22hi 22hiI และ 59 มีเนื้อที่ 15,937 ไร่ หรือร้อยละ 3.44

               ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ  การระบายนํ้าของดินค่อนข้างเลวถึงดี

               ปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนทรายแป้ ง ปฏิกิริยา
               ดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย  ปฏิกิริยาดิน

               เป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย ทําให้สมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสม โครงสร้างไม่ค่อยดีและแน่น

               ทึบจึงอุ้มนํ้าได้น้อย การดูดซับธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์ได้น้อย มีนํ้าแช่ขังในฤดูฝน ทําให้ไม่เหมาะสม
               ต่อการปลูกพืชไร่ ยกเว้นในบางพื้นที่ที่มีการจัดการปรับสภาพพื้นที่เพื่อแก้ปัญหานํ้าท่วมขังแล้ว ส่วนใหญ่

               พบในพื้นที่อําเภอลานสัก และบางส่วนของอําเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

                           ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
                           การจัดการเพื่อให้เหมาะสมในการปลูกข้าว ควรเริ่มจากการปรับระดับพื้นที่เพื่อให้นํ้าขังอย่าง

               สมํ่าเสมอทั่วทั้งแปลงนา และนําพืชบํารุงดินมาปลูกสลับกับการปลูกข้าว เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และ

               ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน สําหรับการใช้ที่ดินปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ผล จําเป็นจะต้องป้ องกันนํ้า

               ท่วมโดยทําคันดินล้อมรอบพื้นที่ และยกร่องปลูกเพื่อช่วยในการระบายนํ้า พร้อมทั้งการปรับสมบัติทาง
               กายภาพและเคมีของดินต้องปรับปรุงแก้ไข ดังนี้ 1) ใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ ยคอก ปุ๋ ยหมัก นํ้าหมักชีวภาพ

               ควบคู่กับการใช้ปุ๋ ยเคมี 2) การปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทืองหรือโสนอัฟริกันแล้วไถกลบเป็นปุ๋ ยพืชสด

               3) ใส่วัสดุปรับปรุงดิน เช่น ขี้เลื้อย แกลบและเศษพืช เป็นต้น แล้วไถคลุกเคล้าลงไปในดิน เมื่อซากพืชและ
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95