Page 92 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 92

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           66








               นํ้าในการเพาะปลูก ยกเว้นในบางพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทาน ส่วนใหญ่พบในพื้นที่อําเภอหนองฉาง และ
               บางส่วนของอําเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

                           ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข

                           การจัดการเพื่อให้เหมาะสมสําหรับการใช้ที่ดินปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ผล จําเป็นจะต้องป้ องกัน
               นํ้าท่วมโดยทําคันดินล้อมรอบพื้นที่ และยกร่องปลูกเพื่อช่วยในการระบายนํ้า พร้อมทั้งการปรับสมบัติทาง

               กายภาพและเคมีของดินต้องปรับปรุงแก้ไข ดังนี้ 1) ใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ ยคอก ปุ๋ ยหมัก นํ้าหมักชีวภาพ

               ควบคู่กับการใช้ปุ๋ ยเคมี 2) การปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทืองหรือโสนอัฟริกันแล้วไถกลบเป็นปุ๋ ยพืชสด
               3) ใส่วัสดุปรับปรุงดิน เช่น ขี้เลื้อย แกลบและเศษพืช เป็นต้น แล้วไถคลุกเคล้าลงไปในดิน เมื่อซากพืชและ

               อินทรีย์สารเหล่านี้สลายตัวดีแล้ว จะช่วยทําให้ดินร่วนซุยและเพิ่มความจุในการดูดซับธาตุอาหารพืชรูปที่

               เป็นประโยชน์ นอกจากนี้อาจมีการใช้วัสดุคลุมดิน เช่น เศษซากพืช หรือวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร เช่น
               ฟางข้าว นํามาคลุมแปลง โคนต้นและระหว่างแถวที่ปลูก รวมทั้งควรเลือกพืชปลูกที่เหมาะสม เช่นปลูกพืชที่

               ทนแล้งและมีระบบรากลึก เป็นต้น


                       8.3  ดินตื้น
                           ดินตื้นพบในกลุ่มชุดดินที่ 48  ประกอบด้วย 1  หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 48E  มีเนื้อที่

               25,333 ไร่ หรือร้อยละ 5.46 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา สภาพพื้นที่เป็นเนินเขา การระบายนํ้าของดินดี ความอุดม

               สมบูรณ์ของดินตํ่า  เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายปนกรวด  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง

               เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนเศษหิน ปนกรวดมาก  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปาน
               กลาง ทําให้รากพืชชอนไชได้ยากในฤดูแล้งดินแห้งเร็ว และอาจขาดแคลนนํ้าในการเพาะปลูก พบในพื้นที่

               อําเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

                           ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
                           ดินตื้นถึงตื้นมาก มีกรวดลูกรังหรือเศษหินปะปนกับเนื้อดินมาก ซึ่งมีผลต่อการหยั่งลึกของราก

               ในการปลูกพืชไร่ แนะนําให้คงสภาพเป็นป่ าไม้ตามธรรมชาติ ส่วนในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

               ควรเลือกดินที่มีชั้นดินหนากว่า 15 เซนติเมตร สําหรับพืชที่มีรากตื้น เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ถั่วลิสง
               และอื่นๆ ส่วนการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาด 75x75x75 เซนติเมตร แล้วผสมดิน

               กับปุ๋ ยอินทรีย์  เช่น  ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมัก  อัตราประมาณ  20-30  กิโลกรัมต่อหลุม  สําหรับพื้นที่ทําคันนา

               เนื่องจากพื้นที่ถูกใช้ในการปลูกข้าว ควรเริ่มจากการปรับระดับพื้นที่เพื่อให้นํ้าขังอย่างสมํ่าเสมอทั่วทั้งแปลง
               นา และเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน โดยใส่ปุ๋ ยหมัก ปุ๋ ยคอก หรือปลูกพืชปุ๋ ยสดแล้วไถกลบลงดิน เพื่อปรับปรุง

               สมบัติด้านกายภาพในการกักเก็บนํ้า ส่วนการป้ องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยผสมผสานวิธีกลและ

               วิธีการทางพืช สําหรับวิธีการทางพืช ได้แก่ 1) ปลูกพืชเป็นแถบตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ 2)

               ปลูกแถบหญ้าแฝกขวางตามแนวระดับเพื่อช่วยลดการไหลบ่าของนํ้าและช่วยดักตะกอน 3) ปลูกพืชตระกูล
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97