Page 94 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 94

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           68








               38 มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผลหลายชนิด แต่ไม่ค่อยเหมาะสมถึงไม่เหมาะสมที่จะ
               ใช้ในการทํานา เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่เอื้ออํานวย โดยทั่วไปจึงไม่มีการแนะนําให้ทํานาในกลุ่มชุดดินนี้

                           8.5.2 ที่ลุ่มยกร่อง พบในกลุ่มชุดดินที่ 22 ประกอบด้วย 4 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่

               22M2 22M2I 22hiM2 และ 22hiM2I มีเนื้อที่ 10,705 ไร่ หรือร้อยละ 2.31 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา โดยทั่วไป
               ศักยภาพของกลุ่มชุดดินที่ 22  เหมาะที่จะใช้ในการทํานาเนื่องจากสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบมีนํ้าขังแช่

               ในช่วงฤดูฝน แต่ก็สามารถปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผลได้ โดยทําการยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูนํ้ากว้าง 1.0-

               1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร และมีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ ยหมักหรือปุ๋ ยคอก 2-3 ตันต่อไร่
               ร่วมกับปุ๋ ยเคมีหรือปุ๋ ยอินทรีย์นํ้า หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50  เซนติเมตร ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ย

               หมักหรือปุ๋ ยคอก 20-35 กิโลกรัมต่อหลุม

                       8.6  พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน

                           พบในกลุ่มชุดดินที่ 62 มีเนื้อที่ 293,525 ไร่ หรือร้อยละ 63.28 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา กลุ่มชุดดิน

               นี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้

               ประเภทต่างๆ หลายแห่งมีการทําไร่เลื่อนลอย คุณสมบัติของหน่วยที่ดินไม่แน่นอน ลักษณะของเนื้อดินและ
               ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไป หน่วยที่ดินนี้ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งต้นนํ้าลําธาร

               หรือคงสภาพให้เป็นพื้นที่ป่าไม้

                           ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข

                           ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่าตามธรรมชาติ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งต้นนํ้าลําธาร ในกรณีที่
               จําเป็นต้องนํามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จําเป็นต้องมีการศึกษาดินก่อน เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม

               ของดินสําหรับการปลูกพืช โดยมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงอนุรักษ์หรือวนเกษตร ในบริเวณพื้นที่ที่เป็น

               ดินลึกและสามารถพัฒนาแหล่งนํ้าได้ มีระบบอนุรักษ์ดินและนํ้า เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ทําแนวรั้วหญ้าแฝก
               และขุดหลุมปลูกเฉพาะต้น โดยไม่มีการทําลายไม้พื้นล่าง สําหรับในพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพทางการเกษตร ควร

               รักษาไว้ให้เป็นสวนป่า สร้างสวนป่าหรือใช้ปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว

                       8.7  พื้นที่ดินลึกปานกลาง

                           พบในกลุ่มชุดดินที่ 56 ประกอบด้วย 2 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 56B และ 56C มีเนื้อที่

               14,299 ไร่ หรือร้อยละ 3.08 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอน

               ลาด การระบายนํ้าของดินดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็น
               กรดจัดมากถึงกรดจัด เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดมาก

               ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง พบมากในพื้นที่อําเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี และบางส่วนของ

               อําเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99