Page 85 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 85

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           59








                       7.5.1 การประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับการปลูกข้าว
                       จากผลการประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับการปลูกข้าว สามารถสรุปได้ดังนี้

                            1)  ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลาง (S2) เพราะมีข้อจํากัดบางอย่างที่อาจลดความสามารถใน

               การผลิต มีเนื้อที่ 17,320 ไร่ หรือร้อยละ 3.74 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย 7 หน่วยที่ดิน โดย
               แต่ละหน่วยที่ดินจะพบข้อจํากัดที่อาจลดความสามารถในการผลิต ดังนี้

                                 (1)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s) และความจุในการดูดยึดธาตุ

               อาหาร (n)  ประกอบด้วย 4 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 22  22I  22hiI  และ 59 มีเนื้อที่ 15,465 ไร่ หรือ
               ร้อยละ 3.34 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                                 (2)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m)  ความเป็นประโยชน์ของธาตุ

               อาหาร (s) และความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n)  ประกอบด้วย 1 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 22hi
               มีเนื้อที่ 472 ไร่ หรือร้อยละ 0.10 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                                 (3)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o) และความจุในการดูด

               ยึดธาตุอาหาร (n) ประกอบด้วย 2 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 38b และ 38bI มีเนื้อที่ 1,383 ไร่ หรือร้อย

               ละ 0.30 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                             2)  ที่ดินที่ไม่มีความเหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 425,793 ไร่ หรือร้อยละ 91.79 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

               ประกอบด้วย 22 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 22hiM2 22hiM2I 22M2 22M2I 31B 31BI 31C 38 38I 40

               40B 40BI 40C 40CI 40D 40I 41B 41BI 48E 56B 56C และ 62
                             3) พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 20,712 ไร่ หรือร้อยละ 4.47 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย

               ที่อยู่อาศัย และแหล่งนํ้า

                       7.5.2 การประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                       จากผลการประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สามารถสรุปได้ดังนี้
                             1)  ดินมีความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 4,268 ไร่ หรือร้อยละ 0.92 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

               ประกอบด้วย 2 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 31B และ 31BI

                             2)  ดินมีความเหมาะสมปานกลาง (S2) เพราะมีข้อจํากัดบางอย่างที่อาจลดความสามารถในการ
               ผลิต มีเนื้อที่ 98,731 ไร่ หรือร้อยละ 21.28 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย 17 หน่วยที่ดิน โดยแต่ละ

               หน่วยที่ดินจะพบข้อจํากัดที่อาจลดความสามารถในการผลิต ดังนี้

                                 (1)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของอ๊อกซิเจนต่อรากพืช (o) ความเป็นประโยชน์
               ของธาตุอาหาร (s)  และความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) ประกอบด้วย 4 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่

               22M2 22M2I 22hiM2 และ 22hiM2I มีเนื้อที่ 10,705 ไร่ หรือร้อยละ 2.31 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90