Page 87 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 87

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           61








                       7.5.3 การประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับการปลูกมันสําปะหลัง
                       จากผลการประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับการปลูกมันสําปะหลัง สามารถสรุปได้ดังนี้

                             1)  ดินมีความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 4,268 ไร่ หรือร้อยละ 0.92 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

               ประกอบด้วย 2 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 31B และ 31BI
                             2)  ดินมีความเหมาะสมปานกลาง (S2) เพราะมีข้อจํากัดบางอย่างที่อาจลดความสามารถในการ

               ผลิต มีเนื้อที่ 98,731 ไร่ หรือร้อยละ 21.28 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย 17 หน่วยที่ดิน โดยแต่ละ

               หน่วยที่ดินจะพบข้อจํากัดที่อาจลดความสามารถในการผลิต ดังนี้
                                   (1)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของอ๊อกซิเจนต่อรากพืช (o)  ความเป็น

               ประโยชน์ของธาตุอาหาร (s)  และความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) ประกอบด้วย 4 หน่วยที่ดิน ได้แก่

               หน่วยที่ดินที่ 22M2 22M2I 22hiM2 และ 22hiM2I มีเนื้อที่ 10,705 ไร่ หรือร้อยละ 2.31 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                                   (2)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความเสียหายจากการกร่อนดิน (e)  ประกอบด้วย 1 หน่วยที่ดิน

               ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 31C มีเนื้อที่ 565 ไร่ หรือร้อยละ 0.12 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                                   (3) ข้อจํากัดเกี่ยวกับความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) และความเสียหายจากนํ้าท่วม (f)

               ประกอบด้วย 2 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 38  และ 38I  มีเนื้อที่ 7,617 ไร่ หรือร้อยละ 1.64 ของพื้นที่
               ลุ่มนํ้าสาขา

                                   (4)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s) และความจุในการดูดยึดธาตุ

               อาหาร (n) ประกอบด้วย 6 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 40 40I 40B 40BI 41B และ 41BI มีเนื้อที่ 15,074
               ไร่ หรือร้อยละ 3.25 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                                   (5)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s) และความจุในการดูดยึดธาตุ

               อาหาร (n) และความเสียหายจากการกร่อนดิน (e) ประกอบด้วย 2 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 40C และ

               40CI มีเนื้อที่ 50,471 ไร่ หรือร้อยละ 10.88 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                                   (6)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s) และความจุในการดูดยึดธาตุ

               อาหาร (n) และสภาวะการหยั่งลึกของราก (r) ประกอบด้วย 1 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 56B  มีเนื้อที่

               8,625 ไร่ หรือร้อยละ 1.86 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                                   (7)  ข้อจํากัดเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s) และความจุในการดูดยึดธาตุ

               อาหาร (n) สภาวะการหยั่งลึกของราก (r) และความเสียหายจากการกร่อนดิน (e) ประกอบด้วย 1 หน่วยที่ดิน

               ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 56C มีเนื้อที่ 5,674 ไร่ หรือร้อยละ 1.22 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                             3)  ดินมีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) เพราะมีข้อจํากัดบางอย่างที่อาจลดความสามารถในการ

               ผลิต มีเนื้อที่ 3,936 ไร่ หรือร้อยละ 0.85 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา โดยจะพบข้อจํากัดที่อาจลดความสามารถใน

               การผลิต คือ ความเสียหายจากการกร่อนดิน (e) ประกอบด้วย 1 หน่วยที่ดิน คือ หน่วยที่ดินที่ 40D
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92