Page 91 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 91

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           65








               อินทรีย์สารเหล่านี้สลายตัวดีแล้ว จะช่วยทําให้ดินร่วนซุยและเพิ่มความจุในการดูดซับธาตุอาหารพืชรูปที่
               เป็นประโยชน์

                           8.1.2   ดินค่อนข้างเป็นทรายหรือดินร่วนหยาบที่ดอน พบในกลุ่มชุดดินที่ 40 ประกอบด้วย 7

               หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 40 40I 40B 40BI 40C 40CI และ 40D มีเนื้อที่ 67,986 ไร่ หรือร้อยละ 14.66
               ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน การระบายนํ้าของ

               ดินดี  ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า  เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรด
               เล็กน้อย เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลาง สําหรับดินค่อนข้างเป็น

               ทรายที่ดอนนี้มักพบปัญหาและข้อจํากัดในการปลูกพืชเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของดินไม่เหมาะสม ความ

               อุดมสมบูรณ์ตํ่า การชะล้างพังทลายของดิน และการขาดแคลนนํ้าในการเพาะปลูก ยกเว้นในบางพื้นที่ที่อยู่ในเขต
               ชลประทาน พบในพื้นที่ของอําเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

                           ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
                           การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์และสมบัติด้านกายภาพของดิน เพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช

               ไร่หรือไม้ยืนต้นหรือไม้ผล โดย 1) ใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมัก อัตราประมาณ 2 ตันต่อไร่ หรือ

               2) ทําปุ๋ ยพืชสดโดยปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนปลูกพืชหลัก 2 เดือน แล้วไถกลบเพื่อบํารุงดิน เมื่อพืชปุ๋ ยสดนั้น

               ออกดอกประมาณร้อยละ 50  จะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน  ทําให้อนุภาคดินเกาะตัวกันเป็นเม็ดดินและ
               ก้อนดินมากขึ้น มีสัดส่วนของช่องขนาดเล็กและใหญ่ในโครงสร้างดินที่เหมาะสม ความชื้นที่เป็นประโยชน์

               ในดินจึงสูงขึ้นหรือ  3) ปลูกพืชหมุนเวียน โดยให้มีพืชบํารุงดิน  คือ  พืชตระกูลถั่ว  อยู่ในระบบการปลูกพืช

               หมุนเวียนกับพืชหลัก ทั้งนี้ควรใช้ควบคู่กับปุ๋ ยเคมี สําหรับพื้นที่ทําคันนาเนื่องจากพื้นที่ถูกใช้ในการปลูกข้าว
               จึงต้องเริ่มจากการปรับระดับพื้นที่เพื่อให้นํ้าขังอย่างสมํ่าเสมอทั่วทั้งแปลงนา และปรับปรุงสมบัติด้าน

               กายภาพของดินเพื่อให้สามารถอุ้มนํ้าได้ จึงควรใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ ยคอก หรือปุ๋ ยหมัก หรือนํ้าหมักชีวภาพ

               ใส่แล้วพรวนกลบ หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทือง โสนอัฟริกันเมื่อพืชนี้ออกดอกก็ไถกลบเป็นปุ๋ ยพืช
               สดเพื่อบํารุงดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทําให้อนุภาคดินเกาะตัวกันเป็นเม็ดดินและก้อนดินมากขึ้น


                       8.2  ดินทราย

                           ดินทรายพบในกลุ่มชุดดินที่ 41 ประกอบด้วย 2 หน่วยที่ดิน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 41B และ 41BI
               มีเนื้อที่รวม 1,495 ไร่ หรือ ร้อยละ 0.32 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้าง

               ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย การระบายนํ้าของดินดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า เนื้อดินบนเป็น

               ดินร่วนปนทราย  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย  ปฏิกิริยาดิน
               เป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลาง สําหรับดินทรายจัดที่ดอนนี้มักพบปัญหาและข้อจํากัดในการปลูกพืชเกี่ยวกับ

               สมบัติทางกายภาพของดินไม่เหมาะสม ความอุดมสมบูรณ์ตํ่า การชะล้างพังทลายของดิน และการขาดแคลน
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96