Page 15 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            7








                           2) ระบอบอุณหภูมิ (t : temperature regime) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ค่าอุณหภูมิ
               เฉลี่ยในฤดูปลูก เพราะอุณหภูมิมีผลต่อการงอกของเมล็ด ต่อการออกดอกของพืชบางชนิด และมีส่วน

               สัมพันธ์กับกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช

                           3) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m :  moisture  availability) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
               ตัวแทน ได้แก่ ระยะเวลาการท่วมขังของนํ้าในฤดูฝน ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยในรอบปีหรือความต้องการนํ้า

               ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ ควรพิจารณาถึงการกระจายของนํ้าฝนในแต่ละพื้นที่และลักษณะ

               ของเนื้อดิน ซึ่งมีผลทางอ้อมในเรื่องความจุในการอุ้มนํ้าที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                              ค่าเปรียบเทียบเนื้อดินกับความจุในการอุ้มนํ้า

                                ความจุในการอุ้มนํ้า       เนื้อดิน

                                1) ตํ่ามาก             ดินทราย (ดินทรายเนื้อหยาบ)

                                2) ตํ่า                ดินทรายปนดินร่วน (ดินทรายเนื้อละเอียด)
                                3) ปานกลาง             ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย

                                4) สูง                 ดินเหนียวปนทรายแป้ ง ดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว

                                                       ดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย (ดินร่วนและดินเหนียว)
                                5) สูงมาก              ดินทรายแป้ ง ดินร่วนปนทรายแป้ ง ดินร่วนเหนียวปน

                                                       ทรายแป้ ง ดินร่วนปนทรายละเอียดมาก (ดินทรายแป้ ง

                                                     และดินร่วนปนทรายละเอียดมาก)

                              ชั้นมาตรฐานความจุในการอุ้มนํ้า
                                ชั้นมาตรฐาน                  เซนติเมตร/เซนติเมตรของดิน

                                1) ตํ่ามาก                        < 0.05

                                2) ตํ่า                           0.05-0.10
                                3) ปานกลาง                        0.10-0.15

                                4) สูง                            0.15-0.20

                                5) สูงมาก                         > 0.20
                             ปริมาณนํ้าฝนที่ตกลงมาในแต่ละพื้นที่ จะมีส่วนหนึ่งซึมซาบลงไปในดินสู่เบื้องล่าง เมื่อดิน

               อิ่มด้วยนํ้าแล้วส่วนที่เหลือจะไหลบ่าออกไปจากพื้นที่ ปริมาณนํ้าฝนที่เหลืออยู่ในดิน ซึ่งพืชสามารถนําไปใช้

               ประโยชน์ได้ เรียกว่า effective rainfall จากรายงานของ Kud Reservoir Project ได้แสดงวิธีประเมินหาค่า

               Effective Rainfall จากปริมาณนํ้าฝนที่ตกลงมาในแต่ละเดือนดังนี้
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20