Page 11 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3








                       3.3  การสํารวจดิน คือ การใช้วิธีการศึกษาทางสนามและข้อสนเทศจากแหล่งต่างๆ มาประมวลเข้า
               ด้วยกันเพื่อแจกแจง ให้คําจํากัดความและจําแนกชนิดต่างๆ ของดิน แบ่งขอบเขตบริเวณที่ดินแตกต่างกัน

               เป็นหน่วยดิน ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยเดี่ยวหรือหน่วยผสมบนแผนที่ดินและแปลความหมายข้อมูลต่างๆ

               ที่รวบรวมได้จากการสํารวจ เพื่อวัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์ การสํารวจดินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย
               แผนที่ดินและรายงานการสํารวจดินที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ลักษณะของดิน และการแปลความหมาย

               หน่วยพื้นที่ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544)

                       3.4  หน่วยแผนที่ดิน หมายถึง ชนิดหรือกลุ่มของดินที่เขียนขอบเขตแสดงไว้ในแผนที่ดินนั้นๆ หน่วย
               แผนที่ดินจะมีชื่อ ซึ่งอาจจะเป็นชื่อทางการจําแนกชนิดของดินตามระบบใดระบบหนึ่ง หรืออาจจะเป็นชื่อที่ใช้

               เฉพาะทางการสํารวจที่แสดงให้เห็นภาพพจน์ของสภาพธรรมชาติเชิงภูมิศาสตร์ของบริเวณนั้นๆ ที่มี

               ความหมายเกี่ยวข้องกับดินพอที่จะนํามาแปลความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ได้ (เอิบ, 2548)  ในหน่วยแผนที่ดิน

               หนึ่งๆ จะประกอบด้วยชุดดินหนึ่งชนิดหรือมากกว่า ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
                           3.4.1 หน่วยดินเดี่ยว (soil consociation) เป็นหน่วยแผนที่ที่ประกอบด้วยหน่วยจําแนกดินเดี่ยว

               หรือหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด (miscellaneous  areas)  เป็นส่วนใหญ่โดยอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีปริมาณเนื้อที่

               มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ในแต่ละขอบเขต

                           3.4.2 หน่วยดินสัมพันธ์ (soil association) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้น ๆ มีดินตั้งแต่ 2
               ชนิดขึ้นไป หรือดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด ซึ่งจะเกิดควบคู่กันเสมอ แต่เนื่องจากข้อจํากัดในเรื่องของมาตราส่วน

               แผนที่จึงไม่อาจแยกขอบเขตออกจากกันได้ โดยปกตกจะกําหนดไว้ที่มาตราส่วน 1:24,000 หรือ มาตราส่วนที่

               เล็กกว่า การให้ชื่อหน่วยแผนที่จะใช้ชื่อของดินหรือที่ดินอื่น ๆ ที่พบ เป็นชื่อหน่วยแผนที่ โดยชื่อดินหรือพื้นที่
               เบ็ดเตล็ดที่มีเนื้อที่มากจะเขียนนําหน้า หากเขียนเป็นสัญลักษณ์จะใช้เครื่องหมาย “ / ”  คั่น และจะต้องแสดง

               สัดส่วนของดินหรือที่ดินอื่น ๆ ที่พบในขอบเขตนั้น ๆ ด้วย เช่น A/B สัดส่วน 60/40 เป็นต้น

                           3.4.3 หน่วยดินเชิงซ้อน (soil complex) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้น ๆ มีดินตั้งแต่ 2
               ชนิดขึ้นไป หรือดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด เช่นเดียวกับหน่วยดินสัมพันธ์ แม้ว่ามาตราส่วนของแผนที่จะใหญ่ขึ้น

               (1:24,000  หรือ มาตราส่วนใหญ่กว่า) ก็ยังไม่สามารถแยกขอบเขตของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดเหล่านั้นออกจาก

               กันได้ อาจจะเนื่องจากการเกิดมีความซับซ้อน การให้ชื่อหน่วยแผนที่จะใช้ชื่อของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ด
               ทั้งหมดที่พบ เป็นชื่อของหน่วยแผนที่ โดยดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดที่มีเนื้อที่มากจะเขียนนําหน้าและเรียงกันไป

               ตามลําดับ หากเขียนเป็นสัญลักษณ์จะใช้เครื่องหมาย “  -  ”  คั่น และต้องแสดงสัดส่วนของดินหรือที่ดินอื่น ๆ

               ที่พบด้วย เช่น A-B สัดส่วน 60-40 เป็นต้น
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16