Page 14 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            6








               ในไร่นา การปรับระดับพื้นที่ดิน การบํารุงดิน การวางแผนการผลิต และการจําหน่ายผลิตผลการเกษตร
               รวมตลอดถึงการแลกเปลี่ยน การโอน การรับโอนสิทธิในที่ดิน การให้เช่าซื้อที่ดิน และการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ

               การจัดรูปที่ดิน ตลอดจนการจัดเขตที่ดินสําหรับที่อยู่อาศัย (กรมชลประทาน, 2552)

                       3.8   คุณภาพที่ดิน (Land  Quality  :  LQ) คือ สมบัติของดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและ
               ผลผลิตของพืช อาจประกอบไปด้วยลักษณะที่ดินตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ คุณภาพที่ดินมีทั้งหมด 25 ชนิด

               ได้แก่ ความเข้มของแสงอาทิตย์ (u) อุณหภูมิ (t) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m) ความเป็นประโยชน์

               ของออกซิเจนต่อรากพืช (o) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n)
               สภาวะการหยั่งลึกของราก (r) สภาวะที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด (g) ความชื้นในอากาศที่มีผลต่อการ

               เจริญเติบโต (h) สภาวะการสุกแก่ (i) ความเสียหายจากนํ้าท่วม (f) ความเสียหายจากภูมิอากาศ (c) การมีเกลือ

               มากเกินไป (x) สารพิษ (z) โรคและศัตรูพืช (p) สภาวะการเขตกรรม (k) ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (w)

               สภาวะสําหรับการเตรียมที่ดิน (v) สภาวะสําหรับการกักเก็บและแปรรูป (q) สภาวะที่มีผลต่อเวลาให้ผลผลิต
               (y) การเข้าถึงพื้นที่ (a) ขนาดของหน่วยศักยภาพการจัดการ (b) ที่ตั้ง (l) ความเสียหายจากการกัดกร่อน (e)

               และความเสียหายจากการแตกทําลาย (d) แต่ในความเป็นจริงอาจนํามาใช้เพียงไม่กี่ชนิดขึ้นอยู่กับความ

               พร้อมของข้อมูล ความแตกต่างของภูมิภาค และระดับความรุนแรงของลักษณะดินที่มีผลต่อผลผลิต รวมทั้ง
               ชนิดของพืชและความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดิน (บัณฑิต และคํารณ, 2542)

                       3.9  การประเมินคุณภาพที่ดิน (land evaluation) เป็นการพิจารณาศักยภาพของทรัพยากรที่ดินต่อ

               การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันได้นําเอาวิธีการประเมิน

               คุณภาพที่ดินของ FAO Framework  ปี 1983 เข้ามาใช้ เนื่องจากสามารถใช้ได้กับทุกระดับมาตราส่วนของ
               การสํารวจและสามารถตอบวัตถุประสงค์ได้เที่ยงตรงในทุกระดับของการสํารวจ (บัณฑิต และคํารณ, 2542)

                       3.10  การประเมินคุณภาพที่ดินทางด้านคุณภาพ (qualitative land evaluation) เป็นการประเมิน

               เชิงกายภาพว่าที่ดินนั้น มีความเหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านต่างๆ ซึ่งคุณภาพ
               ของที่ดินที่นํามาประเมิน สําหรับประเทศไทยมี 13 ชนิด (บัณฑิต และคํารณ, 2542) ลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา

               นั้น ใช้คุณภาพที่ดินมาประเมิน ได้แก่

                           1)  ความเข้มของแสงอาทิตย์ (u : radiation regime) คุณลักษณะของที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่
               ค่าความยาวของช่วงแสง เพราะมีผลโดยตรงต่อการออกดอกของพืช พืชแต่ละชนิดมีความต้องการความยาว

               ของช่วงแสงที่มีอิทธิพลต่อการออกดอกแตกต่างกันไป  พืชบางชนิดต้องการช่วงแสงสั้นถึงจะออกดอก

               บางชนิดต้องการช่วงแสงยาว แต่บางชนิดแสงไม่มีอิทธิพลต่อการออกดอก ค่าความยาวของช่วงแสงจะ

               แตกต่างกันออกไปตามจุดที่ตั้งบนเส้นรุ้งในแต่ละช่วงเดือน
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19