Page 20 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           12








                                         4) ลึก                      100-150
                                         5) ลึกมาก                   > 150

                             ความยากง่ายต่อการหยั่งลึกของรากในดิน มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะเนื้อดิน

               โครงสร้าง การเกาะตัวของดินและปริมาณกรวดหรือเศษหินที่พบในหน้าตัดดิน
                           8) ความเสียหายจากนํ้าท่วม (f : flood hazard) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ จํานวน

               ครั้งที่นํ้าท่วมในรอบช่วงปี ที่กําหนดไว้ หมายถึง พืชได้รับความเสียหายจากการที่นํ้าท่วมบนผิวดิน

               ชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือเป็นนํ้าที่มีการไหลบ่า การที่นํ้าท่วมขังจะทําให้ดินขาดออกซิเจน ส่วนนํ้าที่ไหลบ่าจะ
               ทําให้รากพืชได้รับความกระทบกระเทือน หรือรากอาจหลุดพ้นผิวดินขึ้นมาได้ ความเสียหายจากนํ้าท่วม

               ไม่ใช่จะเกิดกับพืชเท่านั้น แต่ยังทําความเสียหายให้กับดินและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้

               ที่ดิน
                              ชั้นมาตรฐานความเสียหายจากนํ้าท่วม

                                         ชั้นมาตรฐาน            ความถี่ในการเกิดนํ้าท่วม

                                         1) ตํ่า                10 ปีขึ้นไปเกิด 1 ครั้ง

                                         2) ค่อนข้างตํ่า        6-9 ปีเกิด 1 ครั้ง
                                         3) ปานกลาง             3-5 ปีเกิด 1 ครั้ง

                                         4) สูง                 1-2 ปีเกิด 1 ครั้ง

                           9) การมีเกลือมากเกินไป (x : excess of salts) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณ

               เกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอัตราร้อยละของโซเดียมที่
               แลกเปลี่ยนได้ < 15 เปอร์เซ็นต์ หรือความเค็มที่มีอิทธิพลที่ทําความเสียหายให้กับพืชโดยขบวนการออสโมซิส

               กล่าวคือ ถ้ามีเกลือสะสมในดินมาก ปริมาณนํ้าในรากพืชและต้นพืชจะถูกดูดออกมาทําให้ต้นพืชขาดนํ้า

               ถ้าความเค็มมีระดับสูงมากอาจทําให้พืชตายได้ พืชแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการทนทานต่อปริมาณ
               เกลือแตกต่างกันออกไป เช่น ฝ้ ายมีความทนทานสูงมากถึง 10-16  เดซิซีเมนส์ต่อเมตร องุ่น ข้าว ข้าวโพด

               ถั่วต่างๆ มะเขือเทศ มีความทนทานปานกลางประมาณ 4-10  เดซิซีเมนส์ต่อเมตร สําหรับส้ม มะนาว อ้อย

               มีความทนทานตํ่ามาก ประมาณ 2-4 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร
                           10) สารพิษ (z : soil toxicities) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ระดับความลึกของชั้น

               จาโรไซต์ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาดิน ทําให้ดินเป็นกรดจัดมาก ปริมาณซัลเฟตของเหล็ก และอะลูมิเนียม

               ในดินจะสูงมากจนเป็นพิษต่อพืช
                           11) สภาวะการเขตกรรม (k : soil workability) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ชั้นความ

               ยากง่ายในการเขตกรรม ซึ่งอาจหมายถึงการไถพรวนโดยใช้เครื่องจักรหรือสัตว์หรือเครื่องมืออื่นๆ ก็ได้ ชั้นระดับ

               ความยากง่ายในการไถพรวนใช้มาตรฐานเดียวกันกับการจัดลําดับความหยั่งลึกของราก แต่ใช้เฉพาะบนดินเท่านั้น
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25