Page 10 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            2








               ดังนั้น การศึกษาถึงสถานภาพของทรัพยากรที่ดินในพื้นที่ที่ศึกษาจึงมีความสําคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะ
               ช่วยให้เข้าใจถึงสภาพปัญหาและนําไปสู่การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกต้องและเหมาะสมตาม

               ศักยภาพของทรัพยากรดิน ช่วยให้สามารถป้ องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและตรงกับความต้องการของ

               เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว
                       การวางแผนการใช้ที่ดินในระดับลุ่มนํ้าสาขานั้นเป็นการกําหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์และการ

               พัฒนาด้านการเกษตรให้เหมาะสมกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ พร้อมทั้งเสนอแนวทางการจัดการทรัพยากร

               ที่ดินในลุ่มนํ้าสาขา ซึ่งรายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการใช้ที่ดินลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลาในปี 2555
               โดยศึกษา วิเคราะห์และจัดทําหน่วยที่ดิน ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินร่วมกับข้อมูลการใช้

               ประโยชน์ที่ดิน และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับการวางแผนการใช้ที่ดินในลุ่ม

               นํ้าสาขาห้วยทับเสลา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามศักยภาพของทรัพยากรดิน รวมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาที่
               มีสาเหตุจากตัวทรัพยากรดิน


               2. วัตถุประสงค์

                       2.1  เพื่อจัดทําหน่วยที่ดินและวิเคราะห์สภาพปัญหาของทรัพยากรดินสําหรับนําไปใช้ในการ
                                    วางแผนการใช้ที่ดิน

                       2.2  เพื่อประเมินคุณภาพที่ดินหรือความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจในลุ่มนํ้าสาขา

                                  ห้วยทับเสลา

               3. การตรวจเอกสารและอธิบายนามศัพท์

                       3.1  ลุ่มนํ้า หมายถึง หน่วยของพื้นที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนํ้าโดยเฉพาะ มีขนาดตามความ

               ต้องการของบุคคลและประเภทของการศึกษา คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ ได้แบ่งพื้นที่ประเทศไทย
               ออกเป็นลุ่มนํ้าสําคัญ 25 ลุ่มนํ้าหลัก และแบ่งออกเป็น 254 ลุ่มนํ้าสาขา (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรนํ้าเพื่อ

               การเกษตร, 2553) การรักษาพื้นที่ลุ่มนํ้าไม่ให้เสื่อมโทรมต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสม

               โดยเป้ าหมายหลักในการจัดการลุ่มนํ้า คือ การผสมผสานหลักการทางวิชาการและการมีส่วนร่วมของชุมชน

               ในการที่จะให้พื้นที่ลุ่มนํ้ามีทรัพยากรไว้ใช้อย่างยั่งยืน มีปริมาณนํ้าที่เพียงพอต่อการใช้ มีระยะเวลาการไหล
               ที่เหมาะสมและสมํ่าเสมอ มีคุณภาพนํ้าที่ดีเหมาะสมต่อการอุปโภคและบริโภค การควบคุมการพังทลายของดิน

               การลดความเสียหายจากอุทกภัย รวมทั้งการใช้ทรัพยากรในลุ่มนํ้าอย่างถูกต้องตามหลักอนุรักษ์ (เกษม, 2553)

                       3.2  พื้นที่ลุ่มนํ้า หมายถึง พื้นที่ซึ่งล้อมรอบด้วยสันปันนํ้า เป็นพื้นที่รับนํ้าฝนของแม่นํ้าสายหลักใน

               ลุ่มนํ้านั้นๆ เมื่อฝนตกลงมาในพื้นที่ลุ่มนํ้าจะไหลออกสู่ลําธารสายย่อยๆ แล้วรวมกันออกสู่ลําธารสายใหญ่
               และรวมกันออกสู่แม่นํ้าสายหลักจนไหลออกปากนํ้าในที่สุด (คํารณ, 2551)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15