Page 19 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           11








                           6)  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n :  nutrient  retention  capacity) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
               ตัวแทน ได้แก่ ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนและอัตราร้อยละความอิ่มตัวด้วยเบส โดยปัจจัยทั้งสองนี้มีผล

               ทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชในเรื่องของปริมาณธาตุอาหารที่ดินสามารถดูดยึดและการปลดปล่อย

               ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                             ชั้นมาตรฐานของความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (C.E.C.)

                                     ชั้นมาตรฐาน               มิลลิกรัม/100 กรัมดิน

                                     1)  ตํ่ามาก                   < 3
                                     2)  ตํ่า                      3-5

                                     3)  ตํ่าปานกลาง               5-10

                                     4)  ปานกลาง                   10-15

                                     5)  ค่อนข้างสูง               15-20
                                     6)  สูง                       20-30

                                     7)  สูงมาก                    > 30

                             ชั้นมาตรฐานของอัตราร้อยละความอิ่มตัวด้วยเบส (%B.S)
                                     ชั้นมาตรฐาน               ร้อยละของความอิ่มตัวเบส

                                     1)  ตํ่า                      < 35

                                     2)  ค่อนข้างตํ่า              35-50

                                     3)  ปานกลาง                   50-70
                                     4)  สูง                       > 75

                           7)  สภาวะการหยั่งลึกของราก (r :  rooting  conditions) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

               ความลึกของดิน ความลึกของระดับนํ้าใต้ดินและชั้นการหยั่งลึกของราก (ตารางที่ 1) ความลึกของดินจะมี
               ส่วนสัมพันธ์กับความลึกของระบบรากพืชในการหยั่ง เพื่อหาอาหารและยึดลําต้น ดินที่มีความลึกมาก

               โอกาสที่รากจะเจริญเติบโตก็เป็นไปได้ง่าย นอกจากนี้ระดับนํ้าใต้ดินจะเป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตของ

               รากพืชด้วย ถ้าระดับนํ้าใต้ดินตื้น โอกาสที่รากพืชจะเจริญเติบโตไปสู่เบื้องล่างก็เป็นไปได้ยากเพราะดิน
               ข้างล่างจะขาดออกซิเจน

                             ชั้นมาตรฐานความลึกของดิน

                                     ชั้นมาตรฐาน                 ความลึก (เซนติเมตร)

                                     1)  ตื้นมาก                   < 25
                                     2)  ตื้น                      25-50

                                     3)  ลึกปานกลาง                50-100
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24