Page 171 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง
P. 171

4-8





                          2.1   เขตเกษตรพัฒนา (หนวยแผนที่ 21)

                                  มีพื้นที่ 236,909 ไร หรือรอยละ 25.96 ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา ถูกกําหนดไวเพื่อใหเปน

                  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพสูงในการทําการเกษตรเพื่อรองรับการบริโภคในประเทศและ

                  สงออก ลักษณะพื้นที่คอนขางราบเรียบดินเปนดินเหนียว ดินรวนลึกถึงลึกมาก มีความเหมาะสมใน
                  การทํานา ปลูกไมผล และพืชผัก รวมถึงเปนพื้นที่ที่มีศักยภาพในการสงน้ําเพื่อการเกษตรนอกฤดูฝน

                  สามารถปลูกพืชผักไดตลอดทั้งป จัดทําเขตยอยตามการใชประโยชนที่ดินดังนี้

                                   2.1.1  เขตทํานา (หนวยแผนที่ 211)

                                         มีพื้นที่ 185,913 ไร หรือรอยละ 20.38 ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา อยูในเขตชลประทาน
                  ดินเปนดินเหนียวที่มีการระบายน้ําเลว มีความเหมาะสมในการทํานาปานกลางถึงสูง

                                  แนวทางการพัฒนา

                                         1.  เนื่องจากเปนพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกขาวมากที่สุด ควรมีการปกปอง
                  พื้นที่ เพื่อใชเปนแหลงผลิตอาหารที่สําคัญ  โดยประกาศเปนเขตพัฒนาที่ดิน ตามพระราชบัญญัติ

                  การใชที่ดิน พ.ศ. 2551

                                         2.  หนวยงานที่เกี่ยวของควรมีมาตรการในการวางแผนการผลิตและบริหาร
                  จัดการน้ําใหแกกลุมผูใชอยางทั่วถึงและเปนธรรม

                                         3.  หนวยงานที่เกี่ยวของควรพัฒนาแหลงน้ําขนาดเล็กในพื้นที่ รวมถึงปรับปรุง

                  ประสิทธิภาพของแหลงน้ําตามธรรมชาติ เชน เหมือง ฝาย ใหสามารถกักเก็บน้ําสํารองไวใชในชวงที่
                  น้ําชลประทานไมเพียงพอ

                                  4.  ควรสงเสริมใหเกษตรกรเพิ่มศักยภาพในการปลูกขาวโดยใชขาวพันธุดี

                  จากแหลงผลิตที่เชื่อถือได ทั้งนี้ควรปรับปรุงและเรงพัฒนาคุณภาพขาวใหตรงกับความตองการของตลาด

                  และมีความเหมาะสมในการปลูกเพื่อใหไดขาวคุณภาพดี
                                         5.  ควรสงเสริมใหเกษตรกรปลูกขาวอินทรีย โดยใชปุยคอก ปุยอินทรีย

                  หรือปุยชีวภาพ เพื่อสรางมูลคาการผลิต การสงออก

                                  6.  สงเสริมและใหองคความรูในการดูแลและจัดการเพื่อยกผลผลิตของขาว
                  ใหสูงขึ้น

                                         7.  สงเสริมใหเกษตรกรลดตนทุนการผลิตโดยการสงเสริมการใชวิถีชีวิตและ

                  ภูมิปญญาทองถิ่น

                                  8.  สงเสริมใหเกษตรกรรวมกลุมในรูปแบบสหกรณหรือกลุมเกษตรกรผูคาขาว
                  ใหเขมแข็งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและสรางอํานาจการตอรองดานการตลาด







                                                                        กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176