Page 160 - การวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติและการกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินตามศักยภาพพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาคลองจันดี (รหัส2202)
P. 160

114




                  ทางเลือกการใชที่ดิน เพื่อใชประกอบการตัดสินใจเพื่อวางแผนการใชที่ดินในพื้นที่ลุมน้ํา โดยมี

                  องคประกอบที่สําคัญดังนี้

                                1) การกําหนดคุณภาพที่ดิน  คุณภาพของที่ดินที่นํามาประเมินสําหรับการปลูกพืช
                  ในระบบ  FAO  Framework ไดกําหนดไวทั้งหมด 25 ชนิด แตที่นํามาพิจารณาเพื่อประเมินความ

                  เหมาะสมของที่ดินในแตละประเภทการใชประโยชนที่ดินสําหรับลุมน้ําสาขาคลองจันดีมีทั้งหมด 8

                  ชนิด โดยแบงเปน 3 ดานตามความตองการปจจัยของพืชหรือประเภทการใชประโยชนที่ดินดังนี้
                                  (1) ความตองการดานพืช (Crop requirement) เปนความตองการปจจัยที่มีผลตอการ

                  เจริญเติบโตและการใหผลผลิตของพืช ประกอบดวยปจจัยคุณภาพที่ดินดังนี้

                                     - ความชุมชื้นที่เปนประโยชนตอพืช ( Moisture  availability  :  m) คุณลักษณะ

                  ที่ดินที่เปนตัวแทนไดแก ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยในรอบป หรือความตองการน้ําในชวงการเจริญเติบโตของพืช
                  นอกจากนี้ไดพิจารณาถึงลักษณะของเนื้อดิน ซึ่งมีผลตอความสามารถในการอุมน้ําที่เปนประโยชนตอพืช

                                     - ความเปนประโยชนของออกซิเจนตอรากพืช (Oxygen  availability  :  o) คุณลักษณะ

                  ที่ดินที่เปนตัวแทนไดแก สภาพการระบายน้ําของดิน ทั้งนี้เพราะพืชโดยทั่วไปรากพืชตองการออกซิเจน

                  ในกระบวนการหายใจ
                                     - ความเปนประโยชนของธาตุอาหาร ( Nutrient  availability  :  s) คุณลักษณะที่

                  เปนตัวแทนไดแก ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน

                                     - ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity : n) คุณลักษณะที่ดิน
                  ที่เปนตัวแทนไดแก ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation  exchange  capacity) และความอิ่มตัว

                  ดวยดาง (Base saturation)

                                     - ความเสียหายจากน้ําทวม ( Flood  hazard  :  f)  คุณลักษณะที่ดินที่เปนตัวแทน
                  ไดแก จํานวนครั้งที่น้ําทวมในชวงรอบปที่กําหนดไว

                                     - สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting  conditions  :  r) คุณลักษณะที่ดินที่เปน

                  ตัวแทนไดแก ความลึกของดิน ความลึกของระดับน้ําใตดิน และชั้นการหยั่งลึกของราก โดยความยากงาย
                  ของการหยั่งลึกของรากในดิน มีปจจัยที่เกี่ยวของไดแกลักษณะเนื้อดิน โครงสรางของดิน การเกาะตัว

                  ของเม็ดดิน และปริมาณกรวดหรือเศษหินที่พบบนหนาตัดดิน

                                  (2) ความตองการดานการจัดการ ( Management  requirement) เปนความตองการ

                  ดานเครื่องจักร เครื่องกลซึ่งเกี่ยวของกับความยากงายในการเขตกรรม ประกอบดวยปจจัยคุณภาพ
                  ที่ดิน คือ  ศักยภาพในการใชเครื่องจักร ( Potential  for  mechanization  :  w) คุณลักษณะที่ดิน

                  ที่เปนตัวแทนไดแก ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล ปริมาณกอนหิน และการมีเนื้อดินเหนียวจัด

                  ซึ่งปจจัยทั้ง 4 นี้อาจเปนอุปสรรคตอการไถพรวนโดยเครื่องจักร






                                                                   สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165