Page 33 - ผลสำเร็จของแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
P. 33
20
ส าหรับการเพาะปลูกข้าว ดินขาดน้ าได้ง่ายในการเพาะปลูก เนื่องจากดินค่อนข้างเป็นทราย
ความสามารถในการอุ้มน้ าต่ า และเพาะปลูกโดยอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก การใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน
ส่วนใหญ่ท านาโดยปลูกข้าวเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน และบางส่วนปลูกพืชอื่นบ้างเล็กน้อย พื้นที่
เป็นผืนใหญ่ติดต่อกันตั้งแต่ด้านตะวันออกถึงตอนกลางของต าบล
ข้อเสนอแนะ ควรเป็นพื้นที่เป้าหมายในการเร่งรัดพัฒนาแก้ปัญหาดินทรายโดย
ปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรียวัตถุร่วมกับปุ๋ยเคมี ปรับเปลี่ยนข้าวพันธุ์ดีให้เหมาะสมกับ
สภาพพื้นที่ โดยยึดแนวทางการใช้ที่ดินแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการค้าและการบริโภค ท าเกษตรแบบ
ผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่
3) เขตชุมชน มีเนื้อที่ประมาณ 833 ไร่ หรือร้อยละ 4.71 ของเนื้อที่ต าบล พื้นที่เขตนี้
ก าหนดจากการส ารวจสภาพการใช้ที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2549 โดยส่วนวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน
ที่ 2 ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน ซึ่งเขตชุมชนมีลักษณะเป็นสวนผสมปะปนอยู่กับที่อยู่อาศัย
หรือหมู่บ้าน ไม้ผลและไม้ยืนต้นที่ส าคัญ ได้แก่ มะม่วง ขนุน และหม่อน เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ เร่งแก้ไขปัญหาขยะและน้ าเสียของชุมชนเพื่อลดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้นและกระจายอย่างทั่วถึง ส่วนที่
เป็นไม้ผลผสมในหมู่บ้านควรพัฒนากระบวนการผลิตไม้ผลและพืชผัก โดยส่งเสริมการผลิตพืชปลอด
สารพิษ เพิ่มศักยภาพการผลิตโดยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วในพื้นที่ ส่งเสริม
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ตลอดจนการพัฒนา
บ่อน้ าในไร่นาสนับสนุนการปลูกไม้ผล ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และพืชผัก ส่งเสริมการท าการเกษตรแบบ
ผสมผสาน เพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย
4) เขตแหล่งน้ า มีเนื้อที่ประมาณ 762 ไร่ หรือร้อยละ 4.31 ของเนื้อที่ต าบล เขตนี้ก าหนดขึ้นจาก
แหล่งน้ าตามธรรมชาติและแหล่งน้ าที่จัดสร้างขึ้น แหล่งน้ าเหล่านี้ใช้ประโยชน์ทั้งด้านการกักเก็บน้ าเพื่อใช้ใน
การเกษตร การอุปโภคบริโภค และการประปา ตลอดจนเป็นแหล่งอาหารของชุมชนจากสัตว์น้ าตามธรรมชาติและ
จากการเพาะเลี้ยง
ข้อเสนอแนะ ดูแลรักษาแหล่งน้ าธรรมชาติและแหล่งน้ าที่จัดสร้างขึ้นไม่ให้เสื่อม
โทรมทั้งด้านคุณภาพของน้ าและการกักเก็บน้ า ไม่ปล่อยให้ล าน้ าตื้นเขินและถูกบุกรุก หมั่นขุดลอกคูคลอง
ไม่ทิ้งขยะ น้ าเสียลงในแหล่งน้ า เร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็กให้มีจ านวนและการกระจายมากขึ้น เพื่อ
ช่วยในการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูกในช่วงขาดน้ า