Page 314 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 314

300



                  บน บางพื้นที่พบจุดประสีแดงและมีศิลาแลงออนปะปนอยูจํานวนมาก ปฏิกิริยาดินเปนกรดจัดถึงกรด

                  รุนแรงมาก(pH 4.5-5.5) ความอุดมสมบูรณอยูในระดับต่ํา

                          3.2 ลักษณะของชุดดินในกลุมชุดดินที่ 37

                         3.2.1 ชุดดินบอไทย (Bo Thai series: Bo)

                         จัดอยูใน coarse-loamy, kaolinitic, isohyperthermic Lithic Eutrustox เกิดจากการสลายตัวของ

                  หินทราย สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะเปนลูกคลื่นลอนลาด ถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-16

                  เปอรเซ็นต ชุดดินนี้เปนดินกรวด มีการระบายน้ําดี อุมน้ําไดต่ํา ดินมีความสามารถใหน้ําซึมผานเร็ว มีการ
                  ไหลบาของน้ําบนผิวดินเร็วถึงปานกลาง โครงสรางของดินเลว

                         ดินบนประมาณ 10-35 ซม. มีเนื้อดินเปนดินทราย ถึงดินทรายปนดินรวน สีน้ําตาลเขมถึงสีเขมของ

                  น้ําตาลปนเทา ปฏิกิริยาของดินเปนกรดเล็กนอยถึงกรดจัด(pH 5.5-6.5)  สวนดินลางตอนบนมีเนื้อดินเปน

                  ดินรวนปนทราย ถึงดินทรายปนดินรวน สีน้ําตาลปนแดง สีแดงปนเหลือง หรือสีน้ําตาลปนแดงออน สวนดิน
                  ลางตอนลางซึ่งแสดงลักษณะความไมตอเนื่องจากธรณีวิทยาจะมีเนื้อดินเปนดินเหนียวปนทรายถึงดิน

                  เหนียว สีเทาออน สีเทาปนน้ําตาลออน มักจะพบจุดประสีน้ําตาลแกและสีแดง ปฏิกิริยาดินเปนกรดปาน

                  กลางถึงกรดจัดมาก(pH 5.0-6.0) ในดินลางมักจะพบกอนกรวดปนอยูในเนื้อดินบาง

                         3.2.2 ชุดดินนาคู (Nakhu series: Nu)

                         จัดอยูใน loamy skeletal, mixed, semiactive isohyperthermic Plinthaquic Haplustults เกิด

                  จากตะกอนน้ําพาเกา บนตะพักลําน้ําระดับกลาง ชุดดินนี้เปนดินลึกปานกลางถึงลึก มีการระบายน้ําดีปาน

                  กลาง ดินมีความสามารถใหน้ําซึมผานไดเร็วถึงชาปานกลาง การไหลบาของน้ําบนผิวดินเร็ว ระดับน้ําใตดิน
                  อยูต่ํากวา 3 เมตร ตลอดในชวงฤดูแลง

                         ดินบนลึกไมเกิน 68 ซม. มีเนื้อดินเปนดินทรายรวนหรือรวนปนทราย สีน้ําตาลเขมหรือสีน้ําตาลเขม

                  ปนเทา ปฏิกิริยาดินเปนกลางถึงกรดปานกลาง(pH 6.0-7.0)  สวนดินชั้นลางตอนบน มีสีน้ําตาลเขมหรือสี

                  น้ําตาลเขมปนเทา ถัดลงไปจะเปนชั้นดินเหนียวปนทรายและกรวด หรือดินเหนียวปนกรวด สีเทาปนชมพู
                  หรือสีเทาปนน้ําตาลออน พบจุดประสีแดงหรือแดงปนเหลืองในดินชั้นลางชั้นที่มีกรวดลูกรังปนจะเกิดขึ้น

                  ระหวางความลึก 50-100 ซม. จากผิวดินปฏิกิริยาดินเปนกรดจัดถึงกรดรุนแรงมาก(pH 4.5-5.5)


                         3.2.3 ชุดดินทับเสลา (Thap Salao series: Tas)
                         จัดอยูใน loamy skeletal mixed, isohyperthermic, Ultic Paleustalfs เกิดจากตะกอนของหินตน

                  กําเนิดพวกหินแกรนิตและหินควอรตไซต ที่ถูกพัดพามาทับถมบนเนินตะกอนรูปพัด สภาพพื้นที่ที่พบมี

                  ลักษณะเปนลูกคลื่นลอนลาด ถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-15 เปอรเซ็นต ชุดดินนี้เปนดินตื้น มีการ
                  ระบายน้ําดี คาดวาดินมีความสามารถใหน้ําซึมผานไดเร็ว มีการไหลบาของน้ําบนผิวดินปานกลาง ถึงเร็ว

                  ตามปกติแลวระดับน้ําใตดินอยูต่ํากวา 2 เมตร
   309   310   311   312   313   314   315   316   317   318   319