Page 46 - การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตพืชในพื้นที่ ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนที่ 2 ปีการผลิต 2541/42
P. 46

37





                             1. ดานของการศึกษา เปนสิ่งสําคัญมากที่สุด เนื่องมาจากชุมชนใดหรือบานเมืองใดจะเจริญ

                  และมีวัฒนธรรมที่ดีงาม ชุมชนนั้นและบานเมืองนั้นจะตองมีประชากรที่มีการศึกษาดีเปนพื้นฐาน เนื่องจาก
                  การศึกษาเปนสิ่งสําคัญมากของประชากรและเกษตรกรในทุกชุมชนเพื่อเปนการวางรากฐานที่สําคัญที่สุด

                  ของชีวิต ซึ่งจากผลการสํารวจพบวาเกษตรกรสวนใหญจะมีการศึกษาอยูในระดับชั้นประถมศึกษาคิดเปน

                  สัดสวนมากที่สุดถึงรอยละ 88.61  โดยเฉพาะกับครอบครัวที่ประกอบอาชีพทางดานเกษตรกรรมเปนหลัก

                  เนื่องจากมีความจําเปนจะตองใชแรงงานคนในครอบครัวชวยทําการเกษตรจึงไมสนับสนุนใหสมาชิกใน
                  ครอบครัวไดรับการศึกษาในชั้นสูง เพราะตองการมีแรงงานไวใชทางการเกษตร ดังนั้นรัฐจะตองเอาใจใส

                  และสนับสนุนทั้งกําลังคนและงบประมาณในดานการศึกษาใหมากที่สุดลงไปในพื้นที่ตางๆ   จัดสราง

                  สถานที่ศึกษาใหมากเพียงพอตอประชากรในพื้นที่  จัดระบบรองรับการศึกษาอยางตอเนื่องเปดโอกาสใหผูที่
                  ขาดแคลนทุนทรัพยไดศึกษา  โดยเฉพาะประชากรในทองถิ่นใหมีโอกาสไดรับการศึกษาใหทัดเทียมกัน

                  เพื่อใหเปนกําลังของชาติตอไป  สวนในดานของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทางดานเกษตรกรรมเปนหลัก

                  ควรจะมีการจัดอบรมและถายทอดวิชาความรูในดานการเกษตรตลอดจนขาวสารตางๆ  ใหทันสมัยอยาง
                  รวดเร็วทันกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอยูตลอดเวลา เจาหนาที่ของรัฐในหนวยงานตางๆ ที่เกี่ยวของ

                  และมีผลตอการประกอบอาชีพของเกษตรกรควรจะเขาไปสงเสริมและใหความรูความเขาใจ ในการประกอบ

                  อาชีพทางการเกษตรอยางสม่ําเสมอเพื่อใหเกษตรกรมีความกระตือรือลน  มีการจัดการในการทําเกษตรกรรม
                  อยางถูกตองในอันที่จะทําใหผลผลิตเพิ่มมากขึ้นดวย

                             2.  ดานของการผลิต เชนการผลิตขาวในหนวยที่ดินที่ 5 หนวยที่ดินที่ 17 ซึ่งใชพันธุพื้นเมือง

                  ซึ่งเปนขาวคุณภาพดอยจะใหผลผลิตต่ํามาก ในหนวยที่ดินที่ 5 ไดผลผลิตไรละ 95.21 กิโลกรัม หนวยที่ดิน

                  ที่ 17 ไดผลผลิตไรละ 286.13 กิโลกรัม ทั้งนี้เปนเพราะประสบปญหาศัตรูพืชรบกวน มีตนทุนในการผลิตสูง
                  จากปจจัยการผลิตชนิดตางๆ ตลอดจนดินมีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติต่ํา มีการระบายน้ําไมดี อีกทั้ง

                  พันธุขาวเปนพันธุพื้นเมืองทําใหผลตอบแทนเหนือตนทุนผันแปรและผลตอบแทนเหนือตนทุนทั้งหมด

                  ของการผลิตขาวในสองหนวยที่ดินขาดทุนสุทธิทั้งหมด โดยที่หนวยที่ดินที่ 5 มีผลตอบแทนการลงทุนทั้งหมด

                  ขาดทุนเฉลี่ยไรละ 730.17  บาท  และหนวยที่ดินที่ 17  มีผลตอบแทนการลงทุนทั้งหมดขาดทุนเฉลี่ยไรละ
                  669.21  บาท  จึงสมควรเปลี่ยนพันธุขาวจากพันธุพื้นเมืองมาเปนพันธุสงเสริม  เชนพันธุขาวหอมมะลิ 105

                  เปนตน ซึ่งใหผลผลิตที่สูงกวาเพื่อใหเพียงพอตอการบริโภคและสวนที่เหลือยังไดจําหนาย เพื่อเปนการเพิ่ม

                  รายไดใหเกษตรกรอีกทางหนึ่ง  การผลิตปาลมน้ํามันมีการปลูกอยูใน 2  หนวยที่ดินคือ  หนวยที่ดินที่ 26
                  และหนวยที่ดินที่ 26B  มีผลตอบแทนเหนือตนทุนผันแปรและผลตอบแทนเหนือตนทุนทั้งหมดคอนขางดี

                  ทั้ง 2  หนวยที่ดิน  เปนพืชที่ทํารายไดใหแกเกษตรกรเปนอยางมาก  ควรสงเสริมประชาสัมพันธใหเกษตรกร

                  เกิดความรูความเขาใจเรื่องปาลมน้ํามันใหมากขึ้น ไมวาจะเปนเรื่องปาลมน้ํามันพันธุดี ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว
                  หรือวิธีการเก็บรักษาเปนตน  ตลอดจนวางแผนการใชที่ดินในพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูกปาลมน้ํามัน

                  และควรถายทอดเทคโนโลยีสูเกษตรกรอยางทั่วถึง ในสวนของยางพาราซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในบริเวณ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51