Page 95 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแล้งในเขตชลประทาน
P. 95

3-21








                           3.4.3 การจัดการน้ํา

                                การจัดการน้ําในการปลูกพืชในเขตชลประทานนั้น  คํานึงถึงการใชน้ําอยางประหยัด

                       พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช  จึงจําเปนตองพิจารณาถึงปริมาณและเวลาการใหน้ําชลประทาน
                       การจัดการน้ําในแปลงถั่วเหลืองนับวาเปนปจจัยที่สําคัญอยางหนึ่งที่มีผลตอการเจริญเติบโตและ

                       การสรางผลผลิต ตลอดจนผลตอบแทน สําหรับการผลิตถั่วเหลืองในสภาพนาหลังเก็บเกี่ยวขาว

                       ในเขตชลประทาน ทั้งนี้ เนื่องจากการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลืองมีความสัมพันธโดยตรง
                       กับปริมาณน้ํา และชวงเวลาการให ตลอดจนวิธีการใหน้ําชลประทานที่มีอยู ตลอดจนสภาพภูมิอากาศ

                       ในแตละแหลงปลูก การจัดการน้ําในแตละแหลงปลูกถั่วเหลืองฤดูแลงที่สําคัญ ดังนี้


                                1) พื้นที่เขตชลประทานภาคกลาง  ซึ่งเปนเขตที่มีพื้นที่รับน้ําชลประทานมากที่สุด
                       ของประเทศพื้นที่สวนใหญเปนที่ราบลุม ดินสวนใหญเปนดินเหนียวถึงเหนียวจัด มีการระบายน้ําไมดี

                       วันชัย (2542) ไดศึกษาการตอบสนองของพันธุถั่วเหลืองตอการใหน้ํา  ในดินชุดราชบุรี  ที่มี

                       เนื้อดินชนิดเหนียว (clay) หรือรวนเหนียว (clay loam) ในเขตชลประทานภาคกลางจังหวัดชัยนาท

                       ผลปรากฏวา ในการปลูกถั่วเหลืองทุกพันธุ (พันธุอายุสั้น ปานกลาง หรือยาว) ควรใหน้ําที่อัตรารอยละ
                       70  ของคาการระเหย  หรือใหน้ําในปริมาณ 42  มิลลิเมตร  เมื่อคาการระเหยสะสมครบ 60

                       มิลลิเมตร ตลอดฤดูปลูกมีการใหน้ํา 5 ครั้ง รวมเปนปริมาณน้ําที่ใหทั้งหมด 210 มิลลิเมตร หรือ

                       336  ลูกบาศกเมตรตอไร  ในกรณีที่มีน้ําไมเพียงพอตลอดฤดูปลูก  สามารถลดความเสียหายจาก
                       การขาดน้ําลงไดบางสวน  โดยการใชวัสดุคลุมดิน  เพราะผลการทดลองพบวา  ถั่วเหลืองที่คลุม

                       ดวยฟางขาวอัตรา 2  ตันตอไร  ใหผลผลิตสูงกวาการไมใชวัสดุคลุมดิน  ประมาณรอยละ 10-15

                       ในขณะที่อุทัยและคณะ (2539) ไดทําการศึกษาวิธีการใหน้ําชลประทานแกถั่วเหลืองในเขต
                       ชลประทานภาคกลาง  พบวา  การปลูกถั่วเหลืองฤดูแลงในดินชุดราชบุรี  และนครปฐมในเขต

                       ชลประทานภาคกลาง  ควรปลูกโดยวิธีใหน้ําครั้งละ 40-50  มิลลิเมตร  ถั่วเหลืองใหผลผลิตสูง  ให

                       ประสิทธิภาพการใชน้ําสูง และใหขนาดเมล็ดโต

                                2) พื้นที่เขตชลประทานภาคเหนือ ซึ่งเปนพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองฤดูแลงมากที่สุดของประเทศ

                       พื้นที่สวนใหญเปนดินรวน  รวนทราย  และรวนเหนียว  มีการระบายน้ําดี  มีความอุดมสมบูรณ

                       ปานกลางถึงสูง โดยเฉพาะในเขตชลประทานภาคเหนือตอนลาง พรศิริ (2534) ไดทําการศึกษาปริมาณ
                       การใชน้ําของถั่วเหลืองฤดูแลง  ในดินชุดสันทรายในเขตภาคเหนือตอนบน  ผลปรากฏวา  ปริมาณ

                       การใชน้ําของถั่วเหลืองตลอดฤดูปลูกอยูระหวาง 177-181  มิลลิเมตร  และใหผลผลิตเฉลี่ยอยู

                       ระหวาง 320-467 กิโลกรัมตอไร สําหรับพันธุอายุสั้น (นครสวรรค 1) พันธุอายุปานกลาง (สจ.2

                       และ สจ.5) และพันธุอายุยาว (มช.001-1) นอกจากนี้ พิมพร (2542) รายงานวา การใชน้ําของ





                       เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแลงในเขตชลประทาน    สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100