Page 48 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                  46





                   - การดูแลรักษา เมื่อขิงแทงหน่อพ้นดินในช่วงเดือนพฤษภาคม มีลักษณะคล้ายหน่อไม้

             ยังไม่มีใบ ประเมินได้ 60–70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ท าการก าจัดวัชพืชด้วยยาฆ่าหญ้าและยา
             คุมหญ้าพร้อมกัน เมื่อฉีดยาประมาณ 1 สัปดาห์ หญ้าวัชพืชเริ่มเหลือง ท าการใส่ปุ๋ยโรยเป็น

             แถบสูตร 16–8–8 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเร่งการแตกกอและแตกใบ ไม่ต้องกลบดิน
             เนื่องจากดินมีความชื้น และเม็ดปุ๋ยจะร่วงลงไปใต้แถบหญ้าคาอยู่แล้ว เมื่อขิงแทงยอด

             3–5 ต้นต่อกอ ซึ่งมีอายุประมาณ 3 เดือน ในช่วงเดือนกรกฎาคม ใส่ปุ๋ยผสมเป็นแถบสูตร

             16–8–8 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 0–0–60 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเร่งการ
             เจริญเติบโตของหัวขิง  จากนั้นกลบโคนแล้วฉีดยาคุมหญ้า โดยทั่วไปหลังใส่ปุ๋ยและกลบโคน

             ขิงจะมีอัตราการแทงหน่อเป็น 2   เท่า กล่าวคือจากเดิม 3–5 หน่อ จะเพิ่มขึ้นเป็น
             6–10 หน่อ ในกรณีที่ขิงเจริญเติบโตไม่สม่ าเสมอหรือไม่มีแทงหน่อเพิ่ม สามารถฉีดฮอร์โมน

             เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและเร่งการแทงหน่อ นอกจากนั้น กรณีมีพายุหนักหรือฝนตก
             ติดต่อกันหลายวัน อาจฉีดยาป้องกันโรคเชื้อรา เพื่อป้องกันโรคใบไหม้ ซึ่งหากมีอาการหนักจะ

             ท าให้ต้นยุบ โคนเน่า และแพร่ระบาดไปทั่วแปลงได้
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53