Page 44 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                  42






   8.3 ขั้นตอนและวิธีการผลิตขิงปลอดโรค

        8.3.1 ข้อมูลลักษณะทั่วไปของขิง


             ขิง (Ginger) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber  officinale  Roscoe. วงศ์ :  ZINGIBERACEAE ชื่อสามัญ :  Ginger

   ชื่อท้องถิ่น : ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ(แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอก
   เดียว(ภาคกลาง),  เกีย (จีนแต้จิ๋ว) ขิงเป็นพืชล้มลุกที่ มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ าตาลแกมเหลือง เนื้อในสีขาวนวล ต้น ใบ

   และช่อดอกคล้ายไพลมาก ใบเรียวแคบ ปลายใบแหลม ช่อดอกเป็นตุ้มกลมคล้ายเกล็ดปลา มีดอกสีเหลืองแทรกตามเกล็ดนั้นๆ
   มีการแทงหน่อ หรือล าต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบไปด้วยกาบ หรือโคนหุ้มซ้อนกันสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกขิง

   เป็นพืชลงหัวพวกเดียวกับขมิ้น ไพล เป็นพืชเมืองของเอเชีย ชอบอากาศร้อนชื้น ต้องการดินโปร่งและอุดมสมบูรณ์ เช่น ดิน
   ร่วนปนทราย มีความชื้นสูง ระบายน้ าดี ไม่ชอบดินเหนียวจัด ที่ลุ่มหรือพื้นที่มีน้ าขัง ถ้าใช้ขิงอ่อนควรปลูกในดินทรายหยาบได้

   แดดร าไร จะไม่แก่เร็ว ถ้าโดนแดดจัดจะออกดอกและแก่เร็วเกินไป


             การปลูกและดูแลรักษา การปลูกขิง ใช้เหง้าขิงหรือหัวพันธุ์จากขิงแก่อายุ 10–12 เดือน เอามาผึ่งลมให้แห้ง
   แล้วน ามาหั่นเป็นท่อนๆ ยาวท่อนละ 2 นิ้ว มีตาติดอยู่ 2–3 ตา ท าการปลูกในช่วงต้นฝนหรือก่อนฤดูฝนเล็กน้อย ในราวเดือน

   มีนาคม-พฤษภาคม เตรียมดินโดยพรวนดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กากถั่ว เพื่อให้ดินโปร่ง ปุ๋ยคอกที่ใช้ต้อง
   สะอาด ไม่นิยมใช้ขี้เป็ดขี้ไก่ เพราะจะท าให้ขิงเป็นจุดด า ส่วนปุ๋ยเคมีจะท าให้เกิดโรคเน่า ไม่ควรใช้เด็ดขาด ระยะปลูกระหว่าง

   แถวระหว่างต้น 30×30 ซม. ขุดหลุมปลูกลึก 5–7 ซม. น าหัวพันธุ์มาปลูกในหลุม ตั้งด้านที่จะแตกหนอขึ้น กลบดินหนา 2–5
   ซม. ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลงทั้งในร่องและสันร่อง เพื่อรักษาความชื้น เมื่อขิงอายุได้ 2 เดือน ใส่ปุ๋ยคอกและกลบดินที่

   โคน หลังจากนั้นอีก 1 เดือน ท าการกลบโคนอีกครั้ง เป็นการกระตุ้นให้ขิงแตกหน่อและช่วยให้แง่งขิงแข็งแรง ขิงมีโรคเน่า โรค
   ใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา มีศัตรูพวกหนอนกระทู้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ไส้เดือนฝอย วิธีหลักๆ ในการป้องกันโรคแมลง คือ หมั่น

   ดูแลอย่าให้น้ าท่วมขัง อย่าปลูกขิงชิดกันเกินไป และย้ายที่ปลูกใหม่ทุกๆ ปี


           เก็บเกี่ยว ขิงอ่อน จะเก็บได้เมื่ออายุประมาณ 5–6 เดือน หรือในราวเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม มักจะเก็บหลังฝนตก
   เพราะดินนุ่ม ถ้าฝนไม่ตกต้องรดน้ าก่อน การเก็บใช้มือถอนขึ้นมาทั้งกอ ไม่นิยมใช้เครื่องมือเพราะจะท าให้ขิงหัก ขิงแก่จะเก็บ

   เกี่ยวเมื่ออายุ 11–12 เดือน ให้สังเกตว่าใบและล าต้นเริ่มมีสีเหลืองและเหี่ยวเฉา ซึ่งจะตกอยู่ในราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
   ดินในช่วงนั้นค่อนข้างแห้ง ควรรดน้ าให้ดินชุ่ม ก่อนใช้จอบหรือเสียมขุดดินรอบๆ กอขิงแล้วจึงถอนขึ้นมา


          ขิงเป็นพืชอาหาร สมุนไพร และใช้ในการแพทย์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญของโลก ปี 2563 มีปริมาณการส่งออก
   73,524.55 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2,778.72 ล้านบาท โดยส่งออกไปยังประเทศปากีสถาน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ และจีน

   แต่ในปี 2565 เกิดปัญหาขิงราคาตกต่ า เนื่องจากมีการผลิตขิงจ านวนมาก ส่วนในปี 2566 ราคาขิงปรับตัวสูงขึ้น แสดงถึงราคา

   ของขิงที่มีการผันผวนในแต่ละปี พื้นที่ความเหมาะสมส าหรับปลูกขิงทั้งประเทศ  มีความเหมาะสมสูง 1,950,391 ไร่ และมี
   ความเหมาะสมปานกลาง 43,537,093 ไร่ โดยจังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่เหมาะสมส าหรับปลูกขิง มีความเหมาะสมสูง 7,286 ไร่

   และมีความเหมาะสมปานกลาง 1,021,735 ไร่ ตามข้อมูล Agri-Map (รูปที่ 3 และ 4)
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49