Page 50 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                  48











         9. ผลเป็นอย่างไร ผลผลิต รายได้  ผลิตเพื่อบริโภค/แหล่งรับซื้ออย่างไร ทั้งในเชิงคุณภาพ/ปริมาณ

              การปลูกขิงมีต้นทุนการผลิต 35,570 บาทต่อไร่ (ค่าไถเตรียมแปลง 2,500 บาทต่อไร่ ค่าพันธุ์ขิง 700

         กิโลกรัมต่อไร่ กิโลกรัมละ 25 บาท รวม 17,500 บาทต่อไร่ ค่าแรงงาน 9,400 บาทต่อไร่ ค่าปุ๋ย 3,670 บาทต่อไร่
         และค่ายา 2,500 บาทต่อไร่) ผลผลิตเฉลี่ย 8,000 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายขิงแก่ 10 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาอยู่

         ในช่วง 5–25 บาทต่อกิโลกรัม) รายได้สุทธิ 80,000 บาทต่อไร่ ก าไรสุทธิ 44,630 บาทต่อไร่

         10. กลยุทธ์ในการท าการเกษตรที่ท าให้ประสบความส าเร็จคืออะไร


              10.1 ปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพดินและภูมิอากาศ โดยมีการศึกษาสภาพพื้นที่ของตนเอง ว่ามีความ

         เหมาะสมส าหรับการปลูกพืชชนิดใดบ้าง จากข้อมูลวิชาการและการผลิตจริงของเกษตรกรในพื้นที่ แล้วน าวาง
         แผนการผลิตขิงในรูปแบบของตนเอง


              10.2 ปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง โดยพิจารณาจากราคาผลผลิตต่อต้นทุน เพื่อตัดสินใจปลูกพืชที่ให้
         ผลตอบแทนสูง และมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไปในการผลิต


              10.3 ปลูกพืชที่มีอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ (GI)  สร้างกลุ่มสินค้าเฉพาะ เพื่อลดการแข่งขันของสินค้านั้นๆ

         ในตลาด รวมทั้งใช้กลยุทธ์ในการขายช่องออนไลน์ ผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค

         11. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จมีอะไรบ้าง


              11.1 มีการวางแผนการผลิต โดยอาศัยประสบการณ์และข้อมูลสถิติต่างๆ ในการวิเคราะห์ตลาดก่อนการ
         ตัดสินใจผลิตพืช ซึ่งสินค้าเกษตรต้องมีความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ เป็นสินค้ามูลค่าสูง สามารถ

         แข่งขันได้

              11.2 เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งในด้านนวัตกรรมการผลิต การตลาด และการขายสินค้าในช่องทาง

         ต่างๆ ค้นหาพืชเศรษฐกิจใหม่ที่น่าสนใจ รวมถึงการพัฒนาวิธีเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน

              11.3 รู้จักปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ไม่ยึดติดกับการปลูกพืชชนิดเดิมจนเกินไป มีการปรับตัวและยืดหยุ่น

         ตามบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


              11.4 มีความขยัน หมั่นเพียรและอดทน ซึ่งเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของการเป็นเกษตรกรที่จะประสบ
         ความส าเร็จ
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55