Page 8 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2
กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 19.37 กิโลกรัมต่อไร่ หากเผาตอซังทิ้งเหลือเป็นขี้เถ้านั้น ไนโตรเจนจะถูก
ทำลายไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 20 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียม 23 เปอร์เซ็นต์ เหลือธาตุอาหารพืช
คิดเป็นไนโตรเจน 4.65 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 1.31 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 19.37 กิโลกรัมต่อไร่
ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อินทรีย์สารสำหรับการบำรุงดินเพิ่มอินทรียวัตถุจากเศษวัสดุ
เหลือใช้ทางการเกษตร ทำให้เกิดการย่อยสลายที่เร็วขึ้น เป็นแนวทางการจัดการที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อหมุนเวียนธาตุ
อาหารเศษซากพืชกลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแหล่งอินทรียวัตถุ ธาตุอาหารของพืช และเพิ่มความอุดม
สมบูรณ์ของดิน
การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ผลิตเอนไซม์เซลลูเลส ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ ให้เกิด
การหมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ เป็นแหล่งอินทรียวัตถุ โดยตอซังพืชมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น
เซลลูโลส ซึ่งเป็นโพลีแซคคาไรด์ที่ประกอบด้วยกลูโคสเชื่อมต่อกันด้วยพันธะบีต้า - 1, 4 ไกลโคซิดิค (สุทธิดา
และ ผกามาส, 2558) องค์ประกอบดังกล่าวจะสามารถย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลส เช่น เชื้อรา
Corynascus sp. เป็นราที่มีประสิทธิภาพผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้สูง และทนต่ออุณหภูมิสูงในกระบวนการหมัก
ได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ประโยชน์พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสเชิงอุตสาหกรรม (Brink et al., 2012)
อีกทั้งกิจกรรมเซลลูเลสสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้เริ่มแรกของการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน
การย่อยสลายเซลลูโลสในดินโดยจุลินทรีย์ช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน และระบบนิเวศทางการเกษตรได้
ดังนั้นการวิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์เชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส
การศึกษาวิธีการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสรูปแบบผงละลายน้ำที่ใช้ประโยชน์
ได้ง่าย ศึกษาอัตราวิธีการใช้ประโยชน์ และทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซัง
ข้าวโพดในสภาพแปลง ต่อการย่อยสลายเศษพืช สมบัติทางเคมีดิน การเจริญเติบโต ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เป็นต้นแบบแนวทางการจัดการวัสดุเหลือใช้ในไร่นาด้วยเทคโนโลยีและ
ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม สามารถหมุนเวียนเศษซากพืชกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช
เพื่อฟื้นฟูคุณภาพดิน ลดปัญหาดินเสื่อมโทรม เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยรักษาทรัพยากรดินได้อย่าง
ยั่งยืน และสามารถถ่ายทอดสู่เกษตรกร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังแบบผงละลายน้ำ
2) เพื่อศึกษาวิธีและอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในดิน
สภาพโรงเรือนกระจก
3) เพื่อศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสมบัติดิน การ
เจริญเติบโต และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สภาพแปลงทดลอง
4) เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
1.3 ระยะเวลาการดำเนินการ ตุลาคม พ.ศ. 2564 - มีนาคม พ.ศ. 2566
1.4 ขอบเขตการวิจัย
การดำเนินการวิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัย ดังนี้