Page 11 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            5








                                                            บทที่ 3
                                                         ตรวจเอกสาร



                  3.1  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                        3.1.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชในวงศ์ (family) Gramineae เผ่า (tribe)

                  Maydeae พืชในเผ่านี้มีลักษณะสำคัญ คือ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่แยกกันแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน
                  ข้าวโพดจัดอยู่ในสกุล (genus) Zea และชนิด (species) mays มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea mays L. (ไสว, 2534)

                  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่, 2542) มีดังต่อไปนี้
                               ราก ข้าวโพดมีระบบรากฝอย (fibrous root system) ซึ่งเจริญมาจาก 2 ส่วน คือ รากที่เจริญ

                  มาจากคัพภะ เรียกว่า primary root เป็นรากที่พัฒนามาจากแรดิเคิล และมีรากแขนงแตกออกมาเรียกว่า
                  secondary root นอกจากนี้ ยังมีรากที่เกิดขึ้นที่ scutellar node เรียกว่า seminal root รากทั้งหมดนี้มี
                  การเจริญเติบโตในระยะเวลาสั้น ๆ ขณะข้าวโพดเป็นต้นกล้า และจะตายไปเมื่อต้นข้าวโพดโตขึ้น รากส่วนที่สอง
                  คือ รากที่เจริญมาจากลำต้น เรียกว่า adventitious root โดยมีจุดกำเนิดรากที่ข้อส่วนล่างของลำต้น ข้อแรกที่

                  เกิดรากชนิดนี้ คือ coleoptilar node โดยรากเหล่านี้จะเจริญเติบโตตลอดชีวิตของข้าวโพด ซึ่งสามารถเจริญ
                  แผ่กระจายรอบลำต้นโดยมีรัศมีประมาณ 1 เมตร และหยั่งลึกลงไปในดินได้ในช่วง 2.1 - 2.4 เมตร
                               ลำต้น (culm หรือ stalk) ประกอบด้วยข้อและปล้อง บริเวณข้อมีเนื้อเยื่อเจริญ จุดกำเนิดราก
                  ตา และรอยกาบใบ ปกติลำต้นมีความสูงตั้งแต่ 30 เซนติเมตร จนถึง 2.5 เมตร โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง

                  ของลำต้นในช่วง 2.5 - 5.0 เซนติเมตร
                               ใบ ประกอบด้วยกาบใบและแผ่นใบ กาบใบจะหุ้มลำต้น ส่วนแผ่นใบจะแผ่กางออก มีเส้นกลาง
                  ใบเรียกว่า mid rib ข้าวโพดที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้ทนต่ออัตราการปลูกสูง มักมีลักษณะใบตั้ง แผ่นใบ
                  ด้านบนมีขนเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรับแสง ส่วนแผ่นใบด้านล่างจะเรียบ และมีปากใบจำนวนมาก

                               ดอก ข้าวโพดมีช่อดอกตัวผู้เรียกว่า tassel และช่อดอกตัวเมียเรียกว่า ear อยู่บนต้นเดียวกัน
                  แต่แยกตำแหน่งกัน (monoecious plant) โดยช่อดอกตัวผู้อยู่ที่ส่วนยอดของลำต้นเป็นแบบ panicle มี
                  แกนกลางช่อดอกเรียกว่า rachis ที่ rachis มีกิ่งแขนงชั้นแรกเกิดอยู่ และบนกิ่งแขนงนี้เป็นที่เกิดของกิ่งแขนง

                  ชั้นที่สอง ส่วนกลุ่มดอกย่อย (spikelet) เกิดเป็นคู่ คือ ชนิดที่มีก้าน (pedicelled spikelet) และไม่มีก้าน
                  (sessile spikelet) แต่ละกลุ่มดอกประกอบด้วย 2 ดอกย่อย โดยดอกย่อยที่อยู่ส่วนบนมีการเจริญเติบโตดีกว่า
                  ดอกย่อยที่อยู่ส่วนล่าง แต่ละดอกย่อยประกอบด้วยกลีบดอกเล็มมา (lemma)  และพาเลีย (palea) มีเกสรตัว
                  ผู้ 3 อัน เยื่อรองรังไข่ (lodicule) 2 อัน และเกสรตัวเมียที่ไม่ทำหน้าที่ (rudimentary pistil) อีก 1 อัน
                  โดยทั่วไปดอกตัวผู้จะโปรยละอองเกสรอยู่นาน 5 - 8 วัน ส่วนช่อดอกตัวเมียหรือฝัก เกิดจากตาที่มุมใบข้อที่ 6

                  นับจากใบธงลงมา มีช่อดอกแบบ spike การพัฒนาของช่อดอกเริ่มขึ้นเมื่อข้าวโพดมีอายุ 40 - 45 วันหลังงอก
                  ก้านฝักหรือก้านช่อดอก (shank) ถูกหุ้มด้วยกาบใบหรือเปลือกหุ้มฝัก (husk) โดยกลุ่มดอกตัวเมียเกิดเป็นคู่
                  เรียงกันเป็นแถวยาวบนแกนกลางช่อดอกหรือซัง (cob) ดังนั้น ฝักข้าวโพดจึงมีจำนวนแถวของเมล็ดเป็นแถวคู่

                  กลุ่มดอกที่มีก้านสั้นถูกห่อหุ้มด้วยกลีบ (glume) สั้น ๆ 2 กลีบภายใน แต่ละกลุ่มมีดอกย่อย 2 ดอก ซึ่งดอกย่อย
                  ดอกบนเท่านั้นที่เจริญ แต่ละดอกย่อยประกอบด้วย lemma และ palea รวมเรียกว่า chaff ซึ่งมีเกสรตัวเมีย
                  1 อัน เยื่อรองรังไข่ 2 อัน และเกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน (rudimentary stamen) 3 อัน ก้านเกสรตัวเมียยาว 10 -
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16