Page 7 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 7
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1
บทที่ 1
บทนำ
1.1 หลักการเหตุผล
ดินในพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศไทย มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินจัดอยู่ในระดับต่ำ (น้อยกว่า
1.5 เปอร์เซ็นต์) จนถึงปานกลาง (1.5 - 3.5 เปอร์เซ็นต์) คิดเป็น 62.33 และ 33.02 เปอร์เซ็นต์ของจำนวน
ข้อมูลทั้งหมด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) สาเหตุจากการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ขาดการ
ปรับปรุงบำรุงดิน และการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุอาหารพืช และ
อินทรียวัตถุถูกน้ำชะล้างลงสู่แม่น้ำลำคลอง รวมทั้งเกษตรกรใช้พื้นที่การเพาะปลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน โดย
ไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน ดังนั้นการเพิ่มอินทรียวัตถุจากเศษวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่เกษตร จะเป็นแนว
ทางการพัฒนางานด้านบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุที่มีต้นทุนต่ำ ลดต้นทุนการขนส่งอินทรียวัตถุจากภายนอกพื้นที่
โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ มีความต้องการสูงใน
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ เช่น โรงงานอาหารสัตว์ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์และสัตว์น้ำ และธุรกิจอาหารแปรรูป
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ทั้งภายในประเทศ และการส่งออก นอกจากนี้ ความต้องการของ
อาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ในปี 2563 ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดอาหารสัตว์ส่งออกอยู่ที่ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
และคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเป็น 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2569 ซึ่งมีอัตราเติบโต 4.2 เปอร์เซ็นต์
(CAGR : Compound Annual Growth Rate) ทั้งภาครัฐและเอกชนมีการส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพื้นที่
เพาะปลูกเพื่อให้ผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยในปี 2564 ประเทศไทยมีเนื้อที่เพาะปลูกรวม
7.09 ล้านไร่ ผลผลิต 4.99 ล้านตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564) เมื่อเก็บเกี่ยวส่วนฝักไปใช้ประโยชน์
ส่วนที่เหลือ ได้แก่ ตอซังข้าวโพด เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมากที่เหลือทิ้งในไร่นา คิด
สัดส่วนมวลชีวภาพของต้น ตอ และใบ เป็น 1.245 ตันต่อตันผลผลิต (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์
พลังงาน, 2561) โดยมีเศษวัสดุต้น ตอ และใบ คิดเป็น 6.04 ล้านตัน มีการนำมาใช้ประโยชน์ผลิตเป็นปุ๋ย
อินทรีย์ แต่ยังมีเศษวัสดุเหลืออีกมากที่ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปล่อยทิ้งไว้และเผา
ทิ้ง ซึ่งก่อให้เกิดควันจากการเผาไหม้ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก และสุขภาพประชากรในชุมชนที่อาศัยใน
พื้นที่ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาวิกฤติหมอกควันของประเทศทุกปี จากสถิติในอดีตถึงปัจจุบัน
ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และปัญหาดินเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น แนวทางการหมุนเวียนธาตุ
อาหาร และเพิ่มอินทรียวัตถุในดินจากเศษซากพืชในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นวิธีการจัดการด้านการบำรุงดินที่ไม่
ต้องหาอินทรียวัตถุจากภายนอก ใช้เศษพืชเป็นแหล่งอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์
ดินได้เป็นอย่างดี แต่การใช้ประโยชน์เศษพืชด้วยวิธีการไถกลบเป็นการปฏิบัติที่ต้องใช้ระยะเวลาในการย่อย
สลายของเศษพืชก่อนการปลูกในฤดูต่อไป ในปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดินมีคำแนะนำการไถกลบตอซังข้าวร่วมกับ
การใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 โดยใช้เวลาในการหมักตอซัง 20 วัน อย่างไรก็ตาม
เกษตรกรในหลายพื้นที่อาจยังไม่ได้ปฏิบัติ เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ อีกทั้งการย่อย
สลายจะต้องมีความชื้นในดินสูง ซึ่งเศษซากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีปริมาณเยื่อใยสูง 79 - 89 เปอร์เซ็นต์ มี
ปริมาณโปรตีนต่ำ 2.3 - 3 เปอร์เซ็นต์ มีค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน 62 ไนโตรเจน 0.53 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส
0.15 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียม 2.21 เปอร์เซ็นต์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) เมื่อประเมินจากมวลชีวภาพของ
ตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 876 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นไนโตรเจน 4.65 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 1.31