Page 37 - รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวปฏิบัติการที่ดี (good practices) บริเวณพื้นที่ดินเค็มในประเทศไทย
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2. ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเข้ามาสานต่อโครงการและมี
พระราชด าริถึงแนวทางการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในชุมชนดั้งเดิม เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และวิถีชีวิต
ของชาวบ้านในพื้นที่สวนป่าเกดน้อมเกล้า ให้เน้นความเรียบง่ายแบบในอดีต ควบคุมการก่อสร้างให้
สอดคล้องและไม่ท าลายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นต้นแบบการพัฒนาของคนในท้องถิ่นบริเวณใกล้เคียง ซึ่ง
ชาวต าบลทรงคนองได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้
3. สภาพของพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เป็นพื้นที่ชุ่มน ้าขนาดใหญ่เนื้อที่ประมาณ 11,818 ไร่ มีลักษณะเป็นเกาะที่
ถูกล้อมด้วยแม่น ้าเจ้าพระยาก่อนที่จะไหลสู่ทะเลอ่าวไทย จึงได้รับอิทธิพลจากน ้าทะเลหนุนในช่วงปลายปี
มีน ้าเค็มท่วมถึงจนกลายเป็นน ้ากร่อย ให้พื้นที่เป็นระบบนิเวศของพืชน ้ากร่อย โดยสังเกตได้จากต้นจากซึ่ง
จะพบได้ทั่วไปเป็นแนวริมตลิ่งและใน บางส่วนของเกาะจะพบต้นจากขึ้นเป็นกลุ่มป่าจากผืนใหญ่ยึดดินริม
ตลิ่งได้เป็นอย่างดี สังคมพืชในระบบนิเวศป่าน ้ากร่อยจะเป็นสังคมพืชที่ทนเค็ม นอกจากสกุลโกงกาง แล้ว
ยังมีพันธุ์พืชพื้นถิ่นที่พบในป่าน ้ากร่อยที่ส าคัญได้แก่ (1) ไม้ยืนต้น เช่น ล าพู แสม ตะบูน จิกน ้า หลุมพอ
ทะเล พังกาหัวสุมดอกขาว แดงน ้า แคทะเล โพทะเล ปอทะเล ตีนเป็ดน ้า ต้นจาก (2) ไม้พุ่ม เช่น นกนอน
ทะเล (3) ไม้พื้นล่าง เช่น เหงือกปลาหมอดอกขาว ปรงไข่ (ปรงทะเล) ถอบแถบ เถาคัน (4) ไม้เลื้อย เช่น ล า
เท็ง เบญจมาศน ้าเค็ม หวายลิง และ (5) สิ่งมีชีวิตที่พบในน ้า คือ สาหร่าย และแพลงค์ตอนพืชต่างๆ จึงมี
ความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีลักษณะเฉพาะตัวที่ประกอบไปด้วยปัจจัยแวดล้อม ดังนี้
1) การขึ้นลงของน ้าทะเลในระบบนิเวศป่าน ้ากร่อย จะขึ้นได้ในบริเวณที่มีน ้าทะเลท่วมถึงไม่
บ่อยครั้ง โดยได้รับอิทธิพลจากคลื่นและกระแสน ้า น้อยกว่าป่าชายเลน
2) ระบบนิเวศป่าน ้ากร่อยจะอยู่ถัดชายฝั่งทะเล เข้ามาตอนในของแผ่นดิน ซึ่งต่างจากระบบนิเวศ
ป่าชายเลนซึ่งอยู่ติดกับชายฝั่งทะเล ปากแม่น ้าหรืออ่าว
3) ป่าน ้ากร่อยจะเป็นดินเลนแข็ง ส่วนดินในป่าชายเลนจะเป็นดินเลนงอกใหม่ ที่มีความนุ่ม และลึก
28