Page 36 - รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวปฏิบัติการที่ดี (good practices) บริเวณพื้นที่ดินเค็มในประเทศไทย
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ยุงเพิ่มขึ้น สภาพร่องสวนถูกเปลี่ยนให้เป็นที่พัก มีการถมทางน ้า ส่งผลให้แหล่งน ้าไม่ไหลเวียน เกิดน ้าเน่า
เสีย มีขยะในพื้นที่มากขึ้น จากการขยายตัวของชุมชน ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของ พื้นที่สีเขียวในส่วนที่
เป็นพื้นที่ของเอกชน จึงมีการเปลี่ยนแปลงทางดิน สังคม และเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
วัตถุประสงค์ของเทคโนโลยี
1.เพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบป่าชุมชนเมืองส าหรับฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
2.เพื่อป้องกันและบ าบัดมลพิษทางดินและน ้าที่อาจเกิดขึ้นในคุ้งบางกระเจ้า
3.เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินในระบบนิเวศน ้ากร่อยบริเวณคุ้งบางกระเจ้าได้อย่างยั่งยืน
สถำนที่ด ำเนินกำร สวนป่าเกดน้อมเกล้า หมู่ 2 ซอยเพชรหึง 16 ต.ทรงคนอง (ซอยวัดป่าเกด) อ.พระ
ประแดง จ.สมุทรปราการ 10130
ผู้ใช้ที่ดิน นางเปรมปรีย์ ไตรรัตน์
ต ำแหน่งทำงภูมิศำสตร์ ละติจูด 100.558004 ลองติจูด 13.6675744
วันที่เริ่มด ำเนินกำร เริ่มด าเนินการเมื่อปีพ.ศ. 2550
ผู้รับผิดชอบด ำเนินกำร
นายปราโมทย์ แย้มคลี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดิน กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
ดร.บรรเจิดลักษณ์ จินตฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปรับปรุงดินเปรี้ยว กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
กิจกรรมและรำยละเอียดกำรด ำเนินกำร
1. สวนป่าเกดน้อมเกล้า ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวของโครงการสวนกลางมหา
นคร ตามพระราชด าริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงต้องการ
อนุรักษ์ธรรมชาติบริเวณ คุ้งบางกะเจ้าทั้ง 6 ต าบล ได้แก่ ต.บางน ้าผึ้ง ต.บางกอบัว ต.ทรงคนอง ต.บางกะ
เจ้า ต.บางกะสอบ และ ต.บางยอ ของ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ หรือที่เรียกกันว่ากระเพาะหมู เพื่อ
สร้างเสริม สนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสีเขียวในรูปแบบป่าชุมชนเมือง และเป็นปอดให้คนกรุงเทพฯ
27