Page 38 - รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวปฏิบัติการที่ดี (good practices) บริเวณพื้นที่ดินเค็มในประเทศไทย
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4. การฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ป่าน ้ากร่อย มีการปลูกต้นไม้ 3 ระดับตามค าแนะน าของกรมป่าไม้ ดังนี้
1) ไม้หลัก คือไม้พื้นถิ่นในพื้นที่ ได้แก่ ไม้ป่าชายเลนซึ่งมีความทนทานต่อสภาพความกร่อยและ
ความเค็มของแหล่งน ้าในธรรมชาติที่มีระยะเวลายาวนานมากกว่า 6 เดือนต่อปี ชนิดไม้ที่ปลูก เช่น
ตีนเป็ดน ้า กระทิง พังกาหัวสุมดอกขาว หลุมพอทะเล โพทะเล กระทิง ล าพู และนนทรีป้าน เป็นต้น
2) ไม้ชั้นรอง คือไม้กินได้ทั้งไม้ผลและไม้กินใบซึ่งเป็นชนิดที่ทนต่อสภาพความกร่อยและความเค็ม
เช่น มะขาม สะเดา ขี้เหล็กบ้าน ยอบ้าน ช ามะเลียง พิลังกาสา เป็นต้น
3) ไม้สมุนไพรต่าง ๆ ที่เติบโตได้ดี ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ เช่น ชะพลู มะแว้ง ใบเตย หมากผู้หมาก
เมีย เหงือกปลาหมอ เป็นต้น
5. มีการบริหารจัดการสวนป่าวนเกษตร (Urban Forestry) โดยการปรับปรุงสภาพดิน การจัดการน ้า ส ารอง
น ้าจืด แก้ปัญหาน ้าเค็ม ในฤดูแล้ง ดูแลก าจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ ย พรวนดิน ปลูกซ่อม ปลูกเสริม บ ารุงรักษาต้นไม้
ในแปลงปลูกอย่างต่อเนื่อง มีการน าวัตถุดิบในพื้นที่สวนวนเกษตร ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้
โดยส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่สีเขียว เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดและได้ใช้
ประโยชน์จากต้นไม้ในแปลงปลูกโดยตรง ซึ่งเป็นไปตามแนวพระราชด าริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานไว้เพื่อเป็นแนวทางหลักที่ส าคัญที่จะท าให้เกิดการจัดการพื้นที่สีเขียว
อย่างยั่งยืน
29