Page 34 - รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวปฏิบัติการที่ดี (good practices) บริเวณพื้นที่ดินเค็มในประเทศไทย
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
สวนป่ำเกดต้นแบบกำรจัดกำรป่ำชุมชนในระบบนิเวศน์น ้ำกร่อยที่คุ้งบำงกะเจ้ำ
ที่มำ
จากจุดเริ่มต้นของคนกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าที่อยากจะอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อม อ าเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ปี 2550 ในนามกลุ่ม “สวนป่าชุมชนเมืองสวน
ป่าเกดน้อมเกล้า” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “สวนป่าเกด” ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุในพื้นที่โครงการสวนกลางมหานคร
ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 ต าบลทรงคะนอง อ าเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 16 ไร่ โดยคุณเปรมปรีย์
ไตรรัตน์ ผู้น าชุมชน หมู่ 2 ได้รวมกลุ่มชาวชุมชนในพื้นที่ เพื่อช่วยกันด าเนินกิจกรรมบนพื้นฐานของการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพเดิมไว้มากที่สุด ละเว้นการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่
โดยเฉพาะการสร้างถาวรวัตถุหรือสิ่งปลูกสร้างถาวร มีการท าความสะอาดร่องสวน ก าจัดวัชพืช มีการปลูก
ดูแลรักษาต้นไม้พื้นถิ่น ไม้กินได้ พืชสมุนไพร รวมทั้งมีการเก็บเมล็ดไม้พื้นถิ่นมาเพาะกล้าไม้และน าไปปลูก
ในสวนป่าชุมชนเมือง เพื่อเป็นการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ไม้พื้นถิ่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้ชักชวนผู้คน
จากต่างถิ่นให้มาช่วยกันปลูกต้นไม้อื่นๆ เพิ่มเติม และมีการน าผลผลิตจากพืชที่ปลูกมาประกอบเป็นอาหาร
ให้กับนักท่องเที่ยว ในรูปแบบของ “ผักพื้นบ้านอาหารพื้นถิ่น” นอกจากความร่วมมือร่วมใจกันรับผิดชอบ
ปกป้องดูแล อนุรักษ์ทรัพยากรดินและน ้า รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับคุ้งบางกระเจ้าแล้ว คนในชุมชนแห่ง
นี้ยังสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่น ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา กลุ่มคน
และองค์กรต่างๆ ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อน าไปต่อยอดและพัฒนาชุมชนของตนต่อไป “สวนป่าเกด”
จึงถือว่าเป็นต้นแบบการพัฒนาของชุมชนพื้นที่สีเขียวอย่างแท้จริง
ปัจจุบัน สวนป่าเกดด าเนินการในรูปเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมกับศูนย์จัดการพื้นที่สีเขียวเชิง
นิเวศนครเขื่อนขันธ์ ส านักโครงการพระราชด าริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ ในรูปแบบของเครือข่ายอนุรักษ์
พื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะ
25