Page 31 - รายงานการใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง Using of Remote Sensing Data for Soil Fertility Assessment in Areas at Risk of Acidic soil and Saline Soil of Central Thailand
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
3.2 หลักการด้านการส ารวจระยะไกล หลักการและการประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศ และความรู้ด้านสถิติ
3.2.1 หลักการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีส ารวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การส ารวจข้อมูลระยะไกลใช้หลักการสะท้อนพลังงานของวัตถุ โดยวัตถุแต่ละชนิด
จะสะท้อนพลังงานออกมาในช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน ซึ่งการเก็บขอมูลการสะท้อนพลังงานของวัตถุนั้น
นอกจากภาพจากดาวเทียมแล้วใช้อุปกรณ์ในการส ารวจข้อมูลภาคสนามเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการเก็บ
ข้อมูลการสะท้อนพลังงานของวัตถุ โดยเครื่องมือที่ใช้ส าหรับวัดปริมาณการสะท้อนพลังงานของวัตถุจะมี
คุณสมบัติเหมือนกันหรือคล้ายกันกับอุปกรณ์วัดปริมาณการสะท้อนพลังงานของวัตถุที่อยู่บนเครื่องบิน
หรือดาวเทียม การส ารวจข้อมูลจากระยะไกลได้น าหลักการสะท้อนและดูดซับพลังงานในแต่ละช่วงคลื่น
ของวัตถุมาประยุกต์ใช้ ซึ่งวัตถุแต่ละชนิดจะมีค่าการสะท้อนพลังงานที่แตกต่างกันออกไปในการสะท้อน
แสงของพืชส่วนใหญ่วัดปริมาณการสะท้อนพลังงานของวัตถุที่ความยาวช่วงคลื่น 675 นาโนเมตร และความ
ยาวช่วงคลื่น 750 นาโนเมตร ซึ่งเทียบได้กับภาพจากดาวเทียม Landsat TM ในแบนด์ 3 เป็นช่วงคลื่นที่ถูกดูด
ซับโดยคลอโรฟิลล์และใช้แยกชนิดของพืช แบนด์ 4 ใช้บงบอกถึงโครงสร้างเซลล์ของพืชและมวลชีวภาพ
ประโยชน์จากการวัดปริมาณค่าการสะท้อนแสงโดยพืชพรรณธรรมชาติจะสะท้อนพลังงานได้ดีในช่วงคลื่น
อินฟราเรดใกล้ (Near Infrared Wavelenghts) (700–1,300 นาโนเมตร) และในช่วงคลื่นที่มองเห็นได้จะ
สะท้อนพลังงานช่วงคลื่นแสงสีเขียว (500-600 นาโนเมตร) ส่วนการสะท้อนพลังงานของดินจะขึ้นอยู่กับปัจจัย
บางประการในดิน เช่น ความชื้นในดิน แร่ธาตุในดิน เป็นต้น และน้ าจะไม่มีการสะท้อนพลังงานในช่วงคลื่น
อินฟราเรดใกล้ เช่น จากการรายงานของ Philpot (2010) พืชชนิดเดียวกันที่ได้ปลูกในที่มีความชื้นดิน
ระดับต่างกันจะมีค่าสะท้อนลายเซ็นต์เชิงคลื่นที่ต่างกัน (ภาพที่ 4) จากคุณสมบัติการสะท้อนและดูดซับ
พลังงานที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงคลื่นของพืช จึงได้มีการน าข้อมูลจากการส ารวจจากระยะไกลที่น ามา
ประยุกต์ใช้ในการศึกษาด้านการเกษตรกรรม เช่น การแยกประเภทพืชที่เพาะปลูก (Crop type
Classification) การจัดท าแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น แผนที่ปริมาณธาตุอาหารในดิน แผนที่
ปริมาณอินทรีย์วัตถุ และแผนที่ความชื้นดิน ณ เวลาต่างๆ เป็นต้นเพื่อใช้ส าหรับการจัดการพืชที่เพาะปลูก
(Crop Management)