Page 34 - รายงานการใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง Using of Remote Sensing Data for Soil Fertility Assessment in Areas at Risk of Acidic soil and Saline Soil of Central Thailand
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           28






                       ตารางที่ 10 ดัชนีพืชพรรณชนิดต่างๆ
                       ล าดับ    ดัชนีพืชพรรณ                   สูตร                         อ้างอิง
                         1          NDVI               (NIR - red) / (NIR + red)       Rouse et al., 1974
                         2          GNDVI           (NIR - Green) / (NIR + Green)     Gitelson et al., 1996

                         3            NDII           (NIR - SWIR) / (NIR + SWIR)      Hunt and Rock, 1989

                                   1) ดัชนีความต่างของพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index : NDVI)
                       เป็นค่าดัชนที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ที่แสดงความเขียว ความหนาแน่น และสุขภาพของพืชในแต่ละพิกเซลของ
                       ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นหนึ่งในดัชนีพืชพรรณที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดในการรับรู้จากระยะไกล

                       นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 1970 และการเกษตรดิจิทัลก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้ประโยชน์จากดัชนีนี้มาก
                       ที่สุดเป็นการน าค่าสะท้อนของพื้นผิวระหว่างช่วงคลื่นใกล้อินฟราเรดกับช่วงคลื่นตามองเห็นสีแดงมาท า
                       สัดส่วนกับค่าผลบวกของทั้งสองช่วงคลื่นเพื่อปรับให้เป็นลักษณะการกระจายแบบปกติ ท าให้ค่า NDVI

                       มีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง 1 ซึ่งจะช่วยในการแปลผลได้ง่ายขึ้น โดยที่ค่า 0 หมายถึงไม่มีพืชพรรณใบเขียวอยู่
                       ในพื้นที่ส ารวจ ในขณะที่ค่า 0.8 หรือ 0.9 หมายถึงพืชพรรณใบเขียวหนาแน่นมากในพื้นที่ดังกล่าว กรณีที่
                       พื้นผิวมีพืชพรรณปกคลุมจะมีค่าการสะท้อนในช่วงคลื่นอินฟราเรดสูงกว่าช่วงคลื่นตามองเห็นสีแดงท าให้
                       NDVI มีค่าเป็นบวกในขณะที่พื้นผิวดินจะมีค่าการสะท้อนระหว่างสองช่วงคลื่นใกล้เคียงกันท าให้ NDVI มีค่า
                       ใกล้เคียง 0 ส่วนกรณีที่พื้นผิวเป็นน้ าจะมีค่าการสะท้อนในช่วงคลื่นใกล้อินฟราเรดต่ ากว่าช่วงคลื่นตา

                       มองเห็นสีแดงท าให้ค่า NDVI มีค่าติดลบทั้งนี้โดยปกติค่านี้จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.1 ถึง 0.7 เท่านั้น ดังนั้น
                       ดัชนีนี้จึงเหมาะส าหรับการประมาณความแข็งแรงตลอดวงจรการเพาะปลูกโดยพิจารณาจากลักษณะที่พืช
                       สะท้อนช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบางช่วง ช่วยให้ทราบสถานะปัจจุบัน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกับภาพตาม

                       อนุกรมของช่วงเวลา (time series) เพื่อสังเกตวิวัฒนาการเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อรู้ว่าค่า NDVI เปลี่ยนแปลง
                       อย่างไร ซึ่งท าให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจว่าค่า NDVI สามารถช่วยให้ให้ทราบว่าพืชมีสุขภาพดีหรือไม่แข็งแรง
                       ดัชนีนี้ขึ้นอยู่กับการสะท้อนพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้และช่วงคลื่นแสงสีแดงใน
                       การประเมินตัวบ่งชี้โดยสายตามนุษย์ไม่สามารถท าได้ พืชมีสีเขียวเพราะเม็ดสีคลอโรฟิลล์ที่มีอยู่ในพืชนั้น

                       สะท้อนคลื่นสีเขียวและดูดซับคลื่นสีแดง ซึ่งหมายความว่าพืชที่แข็งแรงซึ่งมีคลอโรฟิลล์และโครงสร้าง
                       เซลล์จ านวนมากจะดูดซับแสงสีแดงและสะท้อนคลื่นอินฟราเรดใกล้ เมื่อมีการสังเคราะห์ด้วยแสง ท าให้
                       พืชพัฒนาและเติบโตและมีโครงสร้างเซลล์มากขึ้น แต่พืชที่ไม่แข็งแรงจะมีการสะท้อนแสงที่ตรงกันข้าม
                       ดังนั้นจากความสัมพันธ์ระหว่างแสงและคลอโรฟิลล์จึงเป็นวิธีที่เราสามารถใช้ค่า NDVI เพื่อแยกความ

                       แตกต่างของพืชที่แข็งแรงจากพืชที่เป็นโรคได้เซ็นเซอร์ของดาวเทียม ซึ่งลายเซ็นต์เชิงคลื่นนี้ท าให้การ
                       วิเคราะห์ค่า NDVI สามารถตรวจจับและวัดปริมาณพืชสีเขียวที่มีชีวิตโดยใช้แสงสะท้อนในช่วงคลื่น
                       อินฟราเรดใกล้และช่วงคลื่นแสงสีแดง (Gao, 1996)
                                   2) ดัชนีความต่างของพืชพรรณด้วยช่วงคลื่นแสงสีเขียว (Green Normalized Difference

                       Vegetation Index: GNDVI) เป็นดัชนีวัดความเขียวของพืชโดยใช้ความแตกต่างของช่วงคลื่นอินฟราเรด
                       ใกล้ (NIR) และแถบสีเขียว (GREEN) ของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งพัฒนาโดย Gitelson et al. (1996)
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39