Page 33 - รายงานการใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง Using of Remote Sensing Data for Soil Fertility Assessment in Areas at Risk of Acidic soil and Saline Soil of Central Thailand
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
Taghadosi et al. (2019) ประเมินความเค็มของดินโดยการท าแผนที่ค่าการน าไฟฟ้า
ของดิน โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมจากดาวเทียม Sentinel 2 และข้อมูล Landsat 8 การศึกษาภาคสนาม
ได้ด าเนินการโดยใช้ข้อมูลเหล่านั้น และได้สกัดคุณลักษณะต่างๆ ของเกลือซึ่งสัมพันธ์กับค่าการน าไฟฟ้า
ของดินของตัวอย่างภาคสนามกับคุณลักษณะของเกลือที่ได้รับจากดาวเทียม การศึกษาใช้สมการ
regression 2 แบบ ได้แก่ Multi-Layer Perceptron (MLP) และ Support Vector (SV) การศึกษา
สรุปว่าวิธีการที่เสนอส าหรับแบบจ าลองความเค็มและการท าแผนที่ของค่าการน าไฟฟ้าของดินถือเป็น
แนวทางที่มีประสิทธิผลส าหรับการตรวจสอบความเค็มของดิน
Elhag and Bahrawi (2016) ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 ท าแผนที่ความ
เค็มของดินโดยใช้ดัชนีพืชพรรณชนิดต่างๆ พบว่า ดัชนี NDVI มีความสัมพันธ์กับความเค็มสูงที่สุด
รองลงมา คือ ดัชนี Soil Adjusted Vegetation Index (SAVI) และ Water Supply Vegetation Index
(WSVI) ตามล าดับ
3.2.2 การใช้ดัชนีพืชพรรณเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ปัจจุบันได้มีการน าเทคโนโลยีการส ารวจขอมูลระยะไกลมาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาการ
เจริญเติบโตของพืชเพิ่มมากขึ้น โดยใช้ความแตกตางของค่าการสะทอนและการดูดซับพลังงานของพืช
ในช่วงคลื่นต่างๆ ที่แตกต่างกันเพื่อหาอัตราสวน (Band Ratio) ของพลังงานแมเหล็กไฟฟาซึ่งเรียกว่า ดัชนี
พืชพรรณ (Vegetation Indices) ซึ่งค่าที่น ามาค านวณนี้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
จากดวงอาทิตย์กับพืชพรรณที่สะท้อนปริมาณแสงตกกระทบในพื้นที่เพาะปลูกพืชในสัดส่วนที่แตกต่างกัน
ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดัชนีพืชพรรณถูกสร้างขึ้นเพื่อปรับเน้นข้อมูลใหมีความเหมาะสมตอการใชงาน หรือ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของขอมูลใหแสดงความชัดเจนในสิ่งที่ท าการศึกษามากขึ้น ซึ่งสามารถบ่งบอกถึง
สัดส่วนของพืชพรรณที่ปกคลุมพื้นผิว สถานะของพืชรวมถึงสภาพความแข็งแรงและความผิดปกติของพืช
นั้นในพื้นที่แปลงปลูกพืช โดยทั่วไปค่าดัชนีพืชพรรณ (VI) สามารถประยุกต์ วิธีการค านวณไปตาม
วัตถุประสงค์ของการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ดัชนีความต่างของพืชพรรณ (normalized
difference vegetation index:NDVI) (Rouse et al., 1974; Thompson et al., 2015) ดัชนีความต่างของ
พืชพรรณด้วยช่วงคลื่นแสงสีเขียว (green normalized difference vegetation index: GNDVI)
(Gitelson et al., 1996) และ ดัชนีความต่างของคลื่นอินฟราเรด (Normalized Difference Infrared
Index:NDII) (Hunt and Rock, 1989) เป็นต้น (ตารางที่ 10) สามารถน ามาใช้เพื่อตรวจสอบสถานะการ
เจริญเติบโตของพืชตามเวลาจริง การท านายหรือประเมินคุณลักษณะของพืช เช่น พื้นที่ใบ มวลชีวภาพ
ความสมบูรณของพืชและความหนาแนนของพืชซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ เช่น เพื่อวัดสถานะของ
ต้นกล้า (ก่อนและระหว่างขั้นตอนการปลูก) เพื่อปรับใช้เทคนิคการจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ
ความอยู่รอดและผลผลิตของพืช หรือเพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น การประยุกต์ใช้ดัชนีพืช
พรรณที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับภัยแล้ง และ
เหตุการณ์รุนแรง เช่น คลื่นความร้อนซึ่งเริ่มเข้าสู่ภูมิภาคที่ขณะนี้ประสบปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น (ชรัตน, 2540)