Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2







                               2) ที่ราบชายฝั่งทะเล (Coastal plain) เกิดจากคลื่นพัดพาและกระแสลมพัดพาเอา
                       เศษวัตถุจากทะเล ทั้งโคลน กรวด ทราย และตะกอนต่าง ๆ เข้ามาทับถมบริเวณชายฝั่ง และลึกเข้าไป
                       ในแผ่นดินมากกว่าหาดทราย แบ่งเป็น
                                  (1) พื้นที่น้ำทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active tidal flats) เป็นพื้นที่ที่มีน้ำทะเลขึ้นถึง

                       ดินมีสีคล้ำ อินทรียวัตถุสูง และเป็นดินเค็ม (saline soil) ดินส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดเป็น
                       ดินกรดกำมะถันหรือเป็นดินเปรี้ยวจัด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ การระบายน้ำเลวมาก เนื้อดิน
                       เป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือเนื้อดินละเอียด อาทิ ชุดดินตะกั่วทุ่ง (Tkt)
                                  (2) พื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flats) เป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง

                       ในอดีต เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนทะเลกับตะกอนน้ำจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือเป็น
                       แอ่งต่ำมีน้ำขังตลอดปี การระบายน้ำเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียว ที่มี
                       การพัฒนาชั้นดินไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่ น้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนเขียว
                       มะกอก อาทิ ชุดดินมูโน๊ะ (Mu)

                                  (3) ที่ราบลุ่มระหว่างสันทราย (Swale) เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำหลังแนวสันทราย ซึ่งเคยเป็น
                       ชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ เป็นดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายถึง
                       ทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลปนเทาและเทา พบจุดประสีเหลืองปนแดงและน้ำตาลปนเหลือง การระบาย

                       น้ำเลวถึงเลวมาก มักอิ่มตัวด้วยน้ำตลอดเวลา มีเศษเปลือกหอยปะปนในเนื้อดิน อาทิ ชุดดินวัลเปรียง (Wp)
                               3) ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา
                       วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ
                       แต่ละฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น
                                  (1) ตะพักลำน้ำระดับต่ำ (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก

                       เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ำตาลปนเทา และน้ำตาล มีจุดประ
                       สีต่าง ๆ การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว เช่น ชุดดินโคกเคียน (Ko) ชุดดินสายบุรี (Bu) เป็นต้น
                                  (2) ตะพักลำน้ำระดับกลางและระดับสูง (Middle and high terrace) เป็นที่ดอน

                       มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรังถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็น
                       ดินร่วนหยาบ ดินร่วนละเอียดหรือดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล เหลือง น้ำตาลปนแดง
                       ไปจนถึงแดง การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี อาทิ ชุดดินลำภูรา (Ll) เป็นต้น
                               4) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น

                       ลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วงของโลก
                       ในระยะทางใกล้ ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหินปะปน
                       ในหน้าตัดดินและลอยหน้า แบ่งตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
                                  (1) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อละเอียดหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็น

                       หินดินดานและหินฟิลไลต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินเหนียว
                       ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง และน้ำตาลปนเหลือง การระบายน้ำดี
                       พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินนาทอน (Ntn)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14