Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1
1. ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร หรือ 339,396 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย
ประกอบด้วย 3 อำเภอ 37 ตำบล (ตารางผนวกที่ 1) มีจำนวนประชากร 414,471 คน
(กรมการปกครอง, 2563)
1.1 อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อ จังหวัดพังงา
ทิศใต้ ติดต่อ ทะเลเขตจังหวัดพังงา
ทิศตะวันออก ติดต่อ ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันตก ติดต่อ ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
1.2 ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดภูเก็ตมีลักษณะเป็นหมู่เกาะวางตัวในแนวจากทิศเหนือไป
ทิศใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เป็นภูเขา มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ควนหว้า สูงจากระดับทะเล
ปานกลาง 541 เมตร และร้อยละ 30 เป็นพื้นที่ราบอยู่ตอนกลางและตะวันออกของเกาะ พื้นที่ชายฝั่ง
ด้านตะวันออกเป็นดินเลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขา และหาดทรายที่สวยงาม
1.3 ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดภูเก็ตมีลักษณะภูมิอากาศที่ร้อนเนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
และมีภูมิอากาศชุ่มชื้นตลอดปีซึ่งเป็นผลจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเอาเอา
ความชื้นและฝนจากมหาสมุทรอินเดีย และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยนําความ
ชุ่มชื้นมาเช่นกัน ฤดูกาลจึงแบ่งได้ 2 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยมี
ฝนตกชุกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ส่วนฤดูร้อนเกิดเป็นช่วงสั้น ๆ เริ่มตั้งแต่เดือน
ธันวาคมถึงเดือนมีนาคม โดยอาจมีฝนตกประปรายเป็นครั้งคราว เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะใน
ทะเลอันดามัน อุณหภูมิระหว่างฤดูกาลและระหว่างกลางวันและกลางคืนไม่แตกต่างกันมากนัก
โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยูในช่วง 26.7 - 28.6 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.7
องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.9 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.3 องศาเซลเซียส
1.4 ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรดินของจังหวัดภูเก็ตแบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ
ต้นกำเนิดดิน ได้ดังนี้
1) พื้นที่หาดทรายและเนินทราย (Beach and sand dune) พื้นที่หาดทราย เป็นพื้นที่
ระหว่างแนวน้ำทะเลขึ้นและน้ำทะเลลง มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นจากการ
กระทำของคลื่นและกระแสน้ำทะเล ส่วนพื้นที่เนินทรายหรือสันทรายเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะนูนเป็นโคก
เตี้ย ๆ และเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
การระบายน้ำค่อนข้างมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายและมักมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในดิน สีน้ำตาล
น้ำตาลปนเหลืองหรือเหลืองปนแดง เช่น ชุดดินไม้ขาว (Mik) ชุดดินบาเจาะ (Bc) ชุดดินหัวหิน (Hh)
เป็นต้น