Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตรัง
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               22







                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
                         3.1  มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงโดยเฉลี่ย 6 เมตร
                       (สามารถสูงได้ถึง 12 เมตร) ล าต้นเนื้อไม้แข็ง มีกิ่งแขนงแตกออกเป็นพุ่มแน่นทรงกลมถึงกระจาย

                       เปลือกหนาผิวเรียบมีสีน้ าตาลเทา ในบ้านเราสามารถพบมะม่วงหิมพานต์ได้ทั่วไปในภาคใต้ ใบมะม่วง
                       หิมพานต์ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียน ใบหนาเกลี้ยงเหมือนแผ่นหนัง ใบคล้ายรูปไข่กลับหัวถึงรูปรีกว้าง
                       ปลายใบกลม โคนใบแหลม เนื้อใบมีกลิ่นหอม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาว
                       ประมาณ 8-20 เซนติเมตร ดอกมะม่วงหิมพานต์ ดอกออกเป็นช่อกระจาย ดอกมีสีขาวหรือสีเหลืองนวล

                       และจะเปลี่ยนไปเป็นสีชมพู ช่อดอกแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจ านวนมาก และมีกลีบเลี้ยงสีเขียว
                       ขนาดเล็ก โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกหนึ่งมีปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ ปลายแหลมเรียว ตรงกลางดอก
                       มีเกสรตัวผู้ประมาณ 8-10 อัน หลังจากดอกร่วงจะติดผล ผลมะม่วงหิมพานต์ มีลักษณะคล้ายผลชมพู่
                       หรือลูกแพร์ ผลเป็นพวงห้อยลงมา ขนาดผลยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร เนื้อผลฉ่ าน้ ามีกลิ่นหอม ผล

                       อ่อนมีสีเขียวหรือเหลืองอมชมพู แต่เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้มแดง ที่ปลายผลมีเมล็ด
                       อยู่ 1 เมล็ด มีลักษณะคล้ายรูปไต เปลือกนอกแข็งและยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีน้ าตาลอมเทา
                       เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นผลมีเปลือกแข็ง มีเมล็ดเดียวลักษณะคล้ายรูปไต หรือคล้ายนวมของนักมวย

                       มีสีน้ าตาลปนเทา ข้างในผลมีเมล็ดคล้ายรูปไต จังหวัดตรังพบปลูกมากที่เกาะสุกรหรือเกาะหมู อ าเภอ
                       ปะเหลียน จังหวัดตรัง เป็นพื้นที่ราบสลับเนินเขา และมีดินลักษณะร่วนปนทราย ท าให้เป็นแหล่ง
                       มะม่วงหิมพานต์ หรือยาร่วง และอีกหลากหลายชื่อ พืชผลพื้นบ้านชื่อดังของภาคใต้ ที่ใหญ่ที่สุดของ
                       จังหวัดตรัง เฉพาะในบริเวณหมู่ที่ 3 บ้านทุ่ง มีต้นมะม่วงหิมพานต์ ขึ้นอยู่ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ถึง
                       100 ไร่ รวมทั้งยังขึ้นอยู่ตามพื้นที่อื่น ๆ บนเกาะอีกรวมประมาณ 500 ไร่ จนสามารถสร้างรายได้

                       ให้กับชาวบ้านปีละหลายหมื่นบาททั้งนี้ ปกติในช่วงฤดูฝน ชาวบ้านจะเก็บส่วนยอดส่งขาย เพื่อท าเป็น
                       ผักหน่อ (ผักจิ้ม) คู่กับขนมจีน หรือข้าวแกง ส่วนในช่วงหน้าร้อน ผลสุกที่มีสีเหลือง หรือสีแดง จะนิยม
                       น าไปรับประทานแบบสด ๆ โดยขายในราคา 12 ผล 10 บาท หรือน าไปปรุงเป็นอาหารประเภทย า ที่

                       มีรสชาติทั้งอร่อยและแปลก เพราะหารับประทานได้เฉพาะที่เกาะสุกร เพียงแห่งเดียวเท่านั้น รวมทั้ง
                       เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งให้ผลผลิตปีละนับพัน ๆ กิโลกรัม และสร้างมูลค่าให้สูงมาก เนื่องจากน าไป
                       ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น คั่ว (อบแห้ง) แกงเลียง แกงพุงปลา
                         3.2  สะตอ “พันธุ์ตรัง 1” จุดเด่นออกผลผลิตปีละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะให้ผลผลิตนอกฤดูกาล

                       ตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ใช้เวลาปลูกน้อยประมาณ 3-4 ปี ฝักดกเรียงเมล็ดชิด ศูนย์วิจัย
                       พืชสวนตรัง ได้ท าการรวบรวมคัดเลือกสะตอพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตนอกฤดู คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-
                       เมษายน มาจากหลายจังหวัดทั่วภาคใต้ รวม 12 สายพันธุ์ เช่น สตูล สงขลา พัทลุง ตรัง สุราษฎร์ธานี และ
                       ตรัง น ามาปลูกไว้ที่แปลงทดลอง ตั้งแต่ปี 2546 จนกระทั่งขณะนี้ประสบความส าเร็จในการวิจัย จนได้

                       สะตอพันธุ์ตรัง 1 ออกมา สามารถเป็นพันธุ์แนะน าให้แก่เกษตรกรได้ ตั้งแต่ปี 2560 ฝักดก ฝักตรง
                       ใช้เวลาปลูกน้อย เมล็ดเรียงชิด ออกนอกฤดู เนื่องจากว่าฤดูปกติจะมีสะตอออกมาเยอะ ท าให้ราคาตก
                       ซึ่งในช่วงที่ผลผลิตออกมาเยอะราคาตกอาจจะเหลือฝักละประมาณ 3 บาท แต่ถ้าเป็นสะตอที่สามารถ
                       ออกนอกฤดูได้ราคาขายจะสูงถึงราคาฝักละ 7-15 บาท ยิ่งถ้าส่งขายในตลาดภาคกลางบางครั้งจะได้

                       ราคาสูงถึงฝักละ 20 บาท ซึ่งสะตอพันธุ์ตรัง 1 เป็นสะตอข้าว ซึ่งปกติของสะตอข้าวลักษณะฝักจะ
                       บิดพลิ้วเล็กน้อย แต่สะตอพันธุ์ตรัง 1 ฝักจะตรง เมล็ดสม่ าเสมอเรียงชิดติดกัน รสชาติหวาน มีกลิ่นฉุน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32