Page 23 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตรัง
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               18







                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเช่น ท าการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
                       โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                         2.4  มังคุด
                             มังคุดเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของตรังในล าดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ

                       Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 - 13)
                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื นที่ปลูกมังคุด
                                 ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 811,579 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.52
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอวังวิเศษ 176,318 ไร่ อ าเภอห้วยยอด 176,263 ไร่

                       และอ าเภอปะเหลียน 84,048 ไร่
                                 ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 640,250 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       35.13 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอปะเหลียน 119,492 ไร่ อ าเภอห้วยยอด

                       106,086 ไร่ และอ าเภอย่านตาขาว 92,810 ไร่
                                 ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 8,733 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.48
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอนาโยง 2,666 ไร่ อ าเภอหาดส าราญ 1,564 ไร่ และ
                       อ าเภอเมืองตรัง 1,056 ไร่
                                 ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 362,261 ไร่

                               2) การวิเคราะห์พื นที่ปลูกมังคุดในปัจจุบัน ซึ่งจ าแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ได้ดังนี้
                                 (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 3,506 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.43 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
                       กระจายอยู่ในอ าเภอห้วยยอด 1,363 ไร่ อ าเภอปะเหลียน 809 ไร่ และอ าเภอย่านตาขาว 638 ไร่

                                 (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,112 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของพื้นที่ศักยภาพ
                       ปานกลาง กระจายอยู่ในอ าเภอย่านตาขาว 498 ไร่ อ าเภอห้วยยอด 287 ไร่ และอ าเภอปะเหลียน 228 ไร่
                                 (3) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 267 ไร่
                               3) พื นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมังคุดแต่ยังไม่ใช้พื้นที่ปลูก

                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินส าหรับการปลูกมังคุด และพื้นที่ปลูกมังคุดในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ
                       (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดตรังมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และความ
                       เหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 1,447,211 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอ าเภอ โดยอ าเภอที่มีพื้นที่
                       ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อ าเภอห้วยยอด 280,699 ไร่ อ าเภอวังวิเศษ 232,381 ไร่ อ าเภอปะเหลียน

                       202,503 ไร่ และอ าเภอย่านตาขาว 164,500 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 808,073 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 99.57 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง พบมากในอ าเภอวังวิเศษ 176,285 ไร่ อ าเภอห้วยยอด 174,900 ไร่ และอ าเภอสิเกา
                       83,876 ไร่

                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลางคงเหลือ (S2) มีเนื้อที่ 639,138 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 99.83 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง พบมากในอ าเภอปะเหลียน 119,264 ไร่ อ าเภอห้วยยอด 105,799 ไร่ และอ าเภอ
                       เมืองตรัง 92,527 ไร่
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28