Page 22 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตรัง
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
17
ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับ
ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกพืช
ตรงตามศักยภาพของดิน การลงทุนต่ าก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่าพื้นที่ที่ควร
พิจารณาให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าว คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกยางพารา (S3) 53,758 ไร่ และพื้นที่
ปลูกปาล์มน้ ามัน (S3) 1,778 ไร่ แต่เนื่องจากนโยบายของคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าว
ต้องการรักษาดุลยภาพผลผลิต ดังนั้น จึงควรพิจารณาปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่สอดคล้องกับความ
ต้องการของตลาด (ตารางที่ 8)
ตารางที่ 8 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตข้าว
ยางพารา (ไร่) ปาล์มน ามัน (ไร่)
อ าเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
กันตัง 3,417 - 3,417 87 - 87
นาโยง 7,047 - 7,047 - - -
ปะเหลียน 6,771 - 6,771 - - -
เมืองตรัง 15,651 - 15,651 137 - 137
ย่านตาขาว 3,020 - 3,020 972 - 972
รัษฎา 1,393 - 1,393 315 - 315
วังวิเศษ 6,858 - 6,858 - - -
สิเกา 1,829 - 1,829 - - -
ห้วยยอด 6,888 - 6,888 267 - 267
หาดส าราญ 884 - 884 - - -
รวม 53,758 - 53,758 1,778 - 1,778
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกข้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิต
ที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถน าไปสู่การต่อยอดโครงการที่ส าคัญต่าง ๆ ได้
เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นย า เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
ข้อจ ากัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ส าคัญของจังหวัด
กระจายอยู่ในอ าเภอนาโยง อ าเภอเมืองตรัง และอ าเภอห้วยยอด เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดิน
ที่มีข้อจ ากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรด
เป็นด่าง และแหล่งน้ า กระจายอยู่ในอ าเภอห้วยยอด อ าเภอนาโยง และอ าเภอเมืองตรัง เป็นต้น