Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตรัง
P. 29
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
แบบเม็ดที่ผ่านกระบวนการป่นให้มีลักษณะเป็นผงละเอียดมีสีน้ าตาลเข้มออกด า รสชาติเผ็ดร้อน
กลิ่นหอมฉุน ไม่มีสิ่งเจือปน 5) พริกไทยขาวแบบป่น ผลิตจากพริกไทยขาวแบบเม็ดที่ผ่านกระบวนการป่น
ให้มีลักษณะเป็นผงละเอียด มีสีขาวอมเทา รสชาติเผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน ไม่มีสิ่งเจือปน การปลูกพริกไทย
ต้นพันธุ์ต้องเป็นต้นกล้าสายพันธุ์พื้นเมือง (ปะเหลียน) ของจังหวัดตรัง ที่มีแหล่งเพาะปลูกในพื้นที่
จังหวัดตรัง โดยการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีล าต้นกลมสมบูรณ์ มีสีเขียวเข้มถึงสีเขียวอมน้ าตาล
และมีใบติดล าต้น โดยคัดจากต้นพันธุ์อายุ 6-18 เดือน ที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรค และแมลง
ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม การเตรียมพื้นที่ปลูก ขุดหลุมกว้างและลึก
ขนาด 15 x 15 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 2-3 เมตร ปลูกสลับฟันปลา เพื่อให้แสงส่องถึงทรงพุ่ม
หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ ต้นพริกไทย จะเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2 ปี ระยะเวลาที่เหมาะสม
ในการเก็บเกี่ยว คือ ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี หลังเก็บผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่ง
ถางหญ้าใต้โคนต้น และควรใส่ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง แล้วรดน้ าให้มีความชื้นพอเหมาะ
3.5 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
Economy) หรือเศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารส าคัญที่น าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องส าอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564
โดยด าเนินการภายใต้ตลาดน าการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วย
ให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการด ารงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map
Online จังหวัดตรังมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น กระชายด า
ขมิ้นชัน และไพล เป็นต้น
กระชายด า เป็นไม้ล้มลุก ล าต้นมีปุ่มปม ลักษณะคล้ายกระชาย แต่เนื้อในหัวเป็นสีม่วง เมื่อ
แก่สีจะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ ผิวด้านนอกสีเหลือง ใบเดี่ยว แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด
สีขาวแต้มชมพู สามารถที่จะปลูกลงแปลง หรือปลูกลงในกระถางก็ได้ ต้องท าการพรวนดิน ใส่ปุ๋ยคอก
ปรับสภาพดินไว้ก่อนที่จะปลูก โดยพื้นที่จังหวัดตรังมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกกระชายด าที่ระดับ
ความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 266,470 ไร่ กระจายอยู่ในอ าเภอห้วยยอด อ าเภอปะเหลียน
อ าเภอนาโยง อ าเภอรัษฎา อ าเภอวังวิเศษ อ าเภอเมืองตรัง อ าเภอสิเกา อ าเภอกันตัง และอ าเภอย่านตาขาว
ขมิ นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบาย
น้ าดี ไม่ชอบน้ าขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์
และมีรายได้ระหว่างรอการเติบโตของไม้ผลไม้ยืนต้น โดยพื้นที่จังหวัดตรังมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูก
ขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 266,470 ไร่ กระจายอยู่ในอ าเภอห้วยยอด อ าเภอปะเหลียน
อ าเภอนาโยง อ าเภอรัษฎา อ าเภอวังวิเศษ อ าเภอเมืองตรัง อ าเภอสิเกา อ าเภอกันตัง และอ าเภอย่านตาขาว
ไพล เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ปลูกง่าย ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลงพืชหลักได้ โดย
พื้นที่จังหวัดตรังมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 60,133 ไร่
กระจายอยู่ในอ าเภอห้วยยอด อ าเภอย่านตาขาว อ าเภอปะเหลียน อ าเภอเมืองตรัง อ าเภอนาโยง
อ าเภอวังวิเศษ อ าเภอรัษฎา และอ าเภอสิเกา