Page 26 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระนอง
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               21







                       มีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยาง
                       การบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ำยางสูงมีคุณภาพและ
                       ตรงตามมาตรฐาน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ใน
                       พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงาน

                       แบบมืออาชีพและสามารถถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่
                             2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 59,313 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอกระบุรี อำเภอกะเปอร์ และอำเภอเมือระนอง ควรสนับสนุนให้
                       มีการเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง

                       โดยเฉพาะการปรับปรุงบำรุงดิน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูป
                       ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมปานกลางให้มากขึ้น ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่
                       25 ปี และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง พัฒนาตลาดและ
                       ช่องทางจัดจำหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยาง หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเน้นจาก

                       ชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ
                             3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่นทดแทน

                       เช่น ไม้ผล มะพร้าว ไผ่หวาน มันสำปะหลัง ยาสูบ แตงโม พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ ทดแทน ให้การ
                       ช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผักบริโภคใน
                       ครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
                       จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร

                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้นอื่น ๆ เป็นต้น
                       ควรเน้นให้เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าวต่อไป เนื่องจากปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพารา
                       เน้นการลดพื้นที่การปลูกยางพาราอยู่แล้ว ฉะนั้นควรสร้างความตระหนักให้เกษตรกร เน้นการทำ

                       การเกษตรแบบผสมผสาน หรือการเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือวนเกษตร เพื่อทำให้เกษตรกร
                       สามารถใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุดต่อไป
                         4.2  ปาล์มน้ำมัน
                             1) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกปาล์มน้ำมันอยู่

                       มีเนื้อที่ 22,856 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอกระบุรี อำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง ตามลำดับ
                       คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดเห็นควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่ปลูก
                       ปาล์มน้ำมันที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ยตาม
                       มาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง

                       สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร
                       วิสาหกิจชุมชน ลานเท กับโรงงานสกัดน้ำมัน ส่งเสริม ให้ความรู้เรื่องการตัดปาล์มน้ำมันที่ได้คุณภาพ
                       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                       (Good Agricultural Practices : GAP)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31