Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระนอง
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               22







                             2) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกปาล์มน้ำมันอยู่
                       มีเนื้อที่ 38,831 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอกะเปอร์ อำเภอกระบุรี และอำเภอละอุ่น ควรสนับสนุน
                       ด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตใน
                       อัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม สนับสนุนพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง เพื่อสร้างความมั่นใจ

                       ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน พื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน
                       โดยเฉพาะในช่วงที่ปาล์มน้ำมันอายุน้อยยังไม่ให้ผลผลิต หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควร
                       ให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการ
                       เปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า

                             3) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
                       โครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดินสนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม
                       ลงทุนน้อยกว่าและให้ผลตอบแทนที่ดี และปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นอายุประมาณ 20-25 ปี การปรับ

                       เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นจึงเป็นเรื่องยาก ในกรณีที่ปาล์มน้ำมันหมดอายุ ส่งเสริมสินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ
                       ที่สามารถปลูก เลี้ยง หรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์มน้ำมัน ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้
                       เกษตรกรสามารถเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบัน
                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น มังคุด ทุเรียน เป็นต้น
                       ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ในอนาคตสามารถกลับมาปลูกปาล์มน้ำมันได้อีก แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
                       การกลับมาปลูกปาล์มน้ำมันอาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะการปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน ที่ปัจจุบันราคาดี
                       แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตและราคาผลผลิตร่วมด้วย

                         4.3  ทุเรียน
                             1) พื้นที่ปลูกทุเรียนที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่ มีเนื้อที่
                       1,618 ไร่ มีพื้นที่ปลูกในเขตอำเภอกระบุรี คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดเห็นควรให้มีการเสนอ

                       แผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่ปลูกทุเรียนที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี
                       รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ยตามมาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
                       สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร
                       วิสาหกิจชุมชน ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่การผลิตผลไม้ครบวงจร เช่น บริหารจัดการผลผลิตแบบ

                       ป้องกันความเสี่ยงโดยใช้การตลาดนำการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกร
                       เพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) เน้นการถ่ายทอด
                       องค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพทุเรียนทั้งในและนอกฤดู ให้สอดคล้องตามฤดูกาล
                       การผลิตผลไม้คุณภาพตามแหล่งกำเนิดภูมิศาสตร์ (GI) และไม้ผลอัตลักษณ์ของจังหวัด

                             2) พื้นที่ปลูกทุเรียนที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่ มีเนื้อที่
                       279 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอกระบุรี เนื่องจากเป็นไม้ผล ซึ่งบางช่วงมีความต้องการการใช้น้ำในปริมาณมาก
                       ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน
                       ใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32