Page 24 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระนอง
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               19







                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรปลูกมังคุดต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิต
                       ที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกมังคุดในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญ

                       ต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกมังคุดในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกมังคุดในที่ดิน
                       ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมังคุด ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกมังคุดที่สำคัญของจังหวัด
                       อยู่ในอำเภอกระบุรี

                                 พื้นที่ปลูกมังคุดในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกมังคุดในที่ดิน
                       ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมังคุด เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรด
                       เป็นด่าง ความชื้น อยู่ในอำเภอกระบุรี
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้

                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกมังคุด
                       มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  ทุเรียนในวงระนอง พืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สิน
                       ทางปัญญา เมื่อปี 2560 เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ผลทรงกลมรี มีร่องพูชัดเจน เปลือกบาง หนามถี่
                       สีเขียว เนื้อหนาเนียนละเอียด สีเหลืองทอง เมล็ดลีบ รสชาติหวาน หอม มัน กรอบ กลิ่นไม่ฉุน น้ำหนัก
                       ประมาณ 3-7 กิโลกรัมต่อลูก ปลูกในพื้นที่ตำบลในวงเหนือ และตำบลในวงใต้ของอำเภอละอุ่น

                       จังหวัดระนอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินปูนเหมือนอยู่ปากปล่องภูเขาไฟ อุณหภูมิต่ำ
                       กว่าพื้นที่อื่นของจังหวัดระนองประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ฝนตกชุก ปีละประมาณ 8 เดือน ตั้งแต่
                       เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน และตกมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม มีความชื้นสัมพัทธ์

                       สูงเฉลี่ยตลอดปี 95 เปอร์เซ็นต์ ตำบลในวงเป็นแหล่งผลิตผลไม้ชั้นเยี่ยม และเป็นแหล่งท่องเที่ยว
                       เชิงเกษตรขึ้นชื่อของจังหวัดระนอง
                         3.2  มะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยเฉพาะเมล็ดส่วนเนื้อในสุด
                       ที่ใช้รับประทานและมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เป็นพืชทนแล้ง ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ดูแลง่าย

                       ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึก ไม่เป็นดินดานไม่เป็นดินด่างจัดหรือกรดจัด
                       ปัจจุบันจังหวัดระนอง มีพื้นที่ปลูกมะม่วงหิมพานต์ หรือภาษาถิ่นเรียกว่า “กาหยู” ประมาณ 6,000 ไร่
                       โดยปลูกมากในตำบลเกาะพยาม ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ กลางทะเลอันดามัน เกษตรกรเกาะพยาม
                       ได้รวมกลุ่มจัดตั้งแปลงใหญ่มะม่วงหิมพานต์ขึ้น มีสมาชิก 40 คน พื้นที่ 1,256 ไร่ ผลผลิต 110 กิโลกรัมต่อไร่

                       ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน (Good Agricultural Practices : GAP) และสินค้า OTOP
                       สามารถแปรรูปจำหน่ายได้ราคาดี มีการบริหารจัดการตลาด โดยรวบรวมผลผลิตในรูปแบบกลุ่มส่งตลาด
                       สร้างตลาดเครือข่ายรวบรวมสินค้า การตลาดออนไลน์ และต่อยอดเป็นวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิง
                       เกษตรชุมชนเกาะพยาม

                         3.3   กาแฟ (โรบัสต้า) จังหวัดระนองเป็นแหล่งปลูกกาแฟโรบัสต้าที่สำคัญเป็นอันดับสองของ
                       ประเทศรองจากจังหวัดชุมพร มีพื้นที่เพาะปลูกกาแฟประมาณ 33,989 ไร่ พื้นที่ปลูกมากที่สุดอยู่ใน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29