Page 25 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระนอง
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               20







                       อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอกะเปอร์ สภาพภูมิอากาศมีฝนตกชุกตลอดปี โดยเรียกสภาพ
                       อากาศแบบพิเศษนี้ว่า “ฝนแปดแดดสี่” (ลักษณะภูมิอากาศแบบมีฝนแปดเดือนและมีแดดสี่เดือน) ซึ่ง
                       เหมาะกับการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้าเป็นอย่างมาก พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟควรเป็นพื้นที่ที่
                       มีความสูง ประมาณ 800-12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความลาดชันไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และต้อง

                       ทำการกำจัดวัชพืชโดยการถางให้โล่ง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2563 มีพื้นที่ปลูกประมาณ
                       33,989 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,035 ตันต่อปี ซึ่งจังหวัดระนองมีบริษัทเอกชนหลาย ๆ บริษัทร่วมมือ
                       กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจังหวัดระนอง ยกระดับเมล็ดกาแฟคุณภาพ รวมทั้งสนับสนุนนโยบาย
                       จังหวัดระนองในการผลักดันกาแฟสู่พืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดอย่างเต็มที่

                         3.4  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือเศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
                       ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564

                       โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
                       จะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดำรงชีพ จากฐานข้อมูล
                       Agri-Map Online จังหวัดระนองมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด

                       เช่น กระชายดำ ขมิ้นชัน ไพล เป็นต้น
                             กระชายดำ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีปุ่มปม ลักษณะคล้ายกระชาย แต่เนื้อในหัวเป็นสีม่วง
                       เมื่อแก่สีจะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ ผิวด้านนอกสีเหลือง ใบเดี่ยว แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด
                       สีขาวแต้มชมพู สามารถที่จะปลูกลงแปลง หรือปลูกลงในกระถางก็ได้ ต้องทำการพรวนดิน ใส่ปุ๋ยคอก
                       ปรับสภาพดินไว้ก่อนที่จะปลูก โดยพื้นที่จังหวัดระนองมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกกระชายดำที่ระดับ

                       ความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 16,305 ไร่ อยู่ในอำเภอกระบุรี
                             ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี
                       ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้

                       ระหว่างรอการเติบโตของไม้ผล ไม้ยืนต้น โดยพื้นที่จังหวัดระนองมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชัน
                       ที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 16,305 ไร่ อยู่ในอำเภอกระบุรี
                             ไพล เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ปลูกง่าย ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลงพืชหลักได้
                       โดยพื้นที่จังหวัดระนองมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 53,564 ไร่

                       กระจายอยู่ในอำเภอกระบุรี 20,508 ไร่ อำเภอเมืองระนอง 12,676 ไร่ อำเภอกะเปอร์ 9,410 ไร่
                       อำเภอละอุ่น 6,018 ไร่ และอำเภอสุขสำราญ 4,952 ไร่
                       4. แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                         4.1  ยางพารา
                             1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 5,749 ไร่ มีพื้นที่ปลูกในเขตอำเภอกระบุรี ตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี
                       (พ.ศ. 2560-2579) เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่อปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่

                       เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายในปี 2579 นั้น ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การคัดเลือก
                       พันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30