Page 21 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระนอง
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               16







                             2) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมังคุดในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสม
                       ของที่ดิน ได้ดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 1,125 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.29 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
                       อยู่ในอำเภอกระบุรี 1,125 ไร่

                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 169 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.14 ของพื้นที่ศักยภาพ
                       ปานกลาง อยู่ในอำเภอกระบุรี 169 ไร่
                               (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 7,787 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.35 ของพื้นที่
                       ศักยภาพเล็กน้อย กระจายอยู่ในอำเภอเมืองระนอง 5,403 ไร่ อำเภอกะเปอร์ 1,184 ไร่ และ

                       อำเภอกระบุรี 592 ไร่
                               (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 3,160 ไร่
                             3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมังคุดแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับปลูกมังคุด และพื้นที่เพาะปลูกมังคุดในชั้นความ

                       เหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดระนองมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1)
                       และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 62,729 ไร่ อยู่ในอำเภอกระบุรี 62,729 ไร่
                       โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 48,097 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 96.71 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง พบในอำเภอกระบุรี 48,097 ไร่
                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลางคงเหลือ (S2) มีเนื้อที่ 14,632 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 98.86
                       ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบในอำเภอกระบุรี 14,632 ไร่
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26